การพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ศิรินทร พงษ์หา
  • วรรณวีร์ บุญคุ้ม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, แหล่งท่องเที่ยวชุมชนนาเกลือ, จุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี พื้นที่ศึกษาคือชุมชนนาเกลือจังหวัดเพชรบุรี อำเภอบ้านแหลม ประกอบด้วย 5 ตำบล คือ ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร ตำบลบางแก้ว ตำบลแหลมผักเบี้ย และตำบลปากทะเล ที่มีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทยและมีการทำนาเกลือ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือการวิจัยและพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่ศึกษา ศึกษาสภาพของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนนาเกลือ สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งการท่องเที่ยว ผู้ให้ข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาคือ
1) ผู้ประกอบการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนนาเกลือ จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสังเกต และสัมภาษณ์ 2) ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ ประเด็นสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 

1. แหล่งท่องเที่ยวชุมชนนาเกลือจังหวัดเพชรบุรีเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ มีภูมิปัญญาการทำนาเกลือ มีทรัพยากรทางธรรมชาติด้านป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่อนุรักษ์นกทะเลและนกอพยพ มีวิถีชีวิตชุมชนนาเกลือและชาวเล ซึ่งแต่ละด้านสามารถส่งเสริมให้เกิดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนเพิ่มมากขึ้นจากการประกอบอาชีพหลัก ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บ่งชี้ว่าควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความตระหนัก การรับรู้และความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนนาเกลือจังหวัดเพชรบุรีรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้นคือ “APPA MAC Model” ประกอบด้วย 1) A: Awareness (ความตระหนัก) 2) P: Participative Management (การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม) 3) P: Planning to Sustainability (การวางแผนสู่ความยั่งยืน) 4) A: Attractions (สิ่งดึงดูดใจ) 5) M: Man (คน) 6) A: Amenities (สิ่งอำนวยความสะดวก) และ 7) C: Coordinating (การประสานงาน) โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้มุ่งเน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ความตระหนักในคุณค่าบริบททางสังคมและค่านิยม การพึ่งพาตนเอง ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและผู้นำชุมชนพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก

3. ผลการรับรองรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้นว่าสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีได้

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กิตติพจน์ แสงสิงห์. (2552). โครงการวิจัยรูปแบบการจัดการท่องเทียวเชิงเกษตรแบบ ส่วนร่วมข ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านบัวเทิง ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดนคราชธานี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เทวะ พบไชน์ จํากัด

ปรียานันท์ สิทธิจินดาร์ (2553) ปรียานันท์ สิทธิจินดาร์. (2553). การพับนกยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวัฒนธรรม โดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน ตำบล นาง จังหวัดจันทบุรี, คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏว่าในการณี

พจนา บุญคุ้ม. (2550). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตลาดน้ำวัดกลางคูเวียง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการ ท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัชสิริ ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2558). หนึ่งทศวรรษพัฒนาการของมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย พ.ศ.2552 – 2562. แหล่งที่มา http://www.cbt-l.or.th/?ge=show_pages&gen_lang-20112012094103#.XAd_GgzY2w สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564

สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี. (2560). แผนพัฒนาการเกษตรรายสินค้าเกลือทะเลจังหวัดเพชรบุรี ประจำปี พ.ศ. 2560

___________. (2566). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570.

อานนท์ สีดาเพ็ง. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟโดยการประยุกต์ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Brown, Warren B., and Moberg, Denis J. (1980). Organizational Theory and Management: A Macro Approach. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04