ศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในเด็กยากจนและด้อยโอกาสของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) : กรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาของครูประถมศึกษา ในโครงการครูรักษ์ถิ่น

ผู้แต่ง

  • ชลวิทย์ เจียรจิตต์
  • พิมพ์ตะวัน จันทัน
  • วิไลลักษณ์ ลังกา
  • สรสัณห์ รังสิยานนท์
  • อัญชลี ศรีกลชาญ
  • สุวิมล เฮงพัฒนา
  • ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์

คำสำคัญ:

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, การจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของครูประถมศึกษา, เด็กยากจนและด้อยโอกาส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการยกระดับศักยภาพการดำเนินงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการส่งเสริมด้านการศึกษาในกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาสของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) 2) ศึกษาแนวการการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาของครูประถมศึกษา ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเป้าประสงค์การผลิตครูประถมศึกษาที่สอนรายวิชาสังคมศึกษาเพื่อท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาสำหรับเด็กยากจนและด้อยโอกาสและด้านการวัดและประเมินผล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหาร บุคลากร จากกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านการศึกษา จำนวน 26 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของ กสศ. ในการสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยการให้ทุนการศึกษาและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กยากจนและด้อยโอกาส การจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ของครูประถมศึกษาโดยการเข้าใจและให้โอกาสในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน พัฒนาทักษะความเป็นพลเมือง จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน ใช้สื่อที่หาได้ง่ายและมีวิธีการประเมินผลที่ชัดเจน

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2561). พระราชบัญญัติ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทาง การศึกษา พ.ศ.2561. กองทุนฯ. แหล่งที่มา:

https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2022/04/eef-GovernmentGazette.pdf.

__________. (2566). รายงานฉบับพิเศษ:หลักประกันโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับถึงอุดมศึกษา โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. กองทุนฯ. https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2023/11/EEF-2023-educational- opportunity-report.pdf

__________. (2566). แผนกลยุทธ กสศ. 2565-2567 ปลดล็อกความเหลื่อมล้ำเหนี่ยวนำความร่วมมือ. จาก https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2022/04/EEF-Strategic-Plan-2022- 2024.pdf.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก).

สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

รัชวดี แสงมหะหมัด. (มกราคม-มิถุนายน, 2560). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา : คุณภาพสังคมที่คนไทย มองเห็น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1): 33-66

Bloom. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. Handbook: The Cognitive Domain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28