ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของแรงงานไทยวัยมิลเลนเนียล

ผู้แต่ง

  • ปฏิภาณ ผลมาตย์ Bachelor of Arts Program (Media and Global Innovative Communication), Institute of International Studies, Ramkhamhaeng University https://orcid.org/0000-0001-5732-9358
  • ดุษฎี อายุวัฒน์

คำสำคัญ:

การทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต, ทักษะทางดิจิทัล, แรงงานวัยมิลเลนเนียล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของแรงงานไทยวัยมิลเลนเนียล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของแรงงานไทยวัยมิลเลนเนียล ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยแบบวิจัยภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีงานทำ อายุระหว่าง 19-39 ปี (เกิดในปี 2524-2544) จำนวน 9,247 คน จากชุดข้อมูลระดับย่อยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ เมื่อตุลาคม-ธันวาคม 2563 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และสถิติ Chi-square เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของแรงงานไทยวัยมิลเลนเนียล ผลการวิจัยพบว่า แรงงานไทยวัยมิลเลนเนียลส่วนใหญ่ มีระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 72.8 และไม่มีการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 13.5 โดยระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตระดับสูงพบในด้านการปฏิบัติงานพื้นฐานและด้านการเข้าถึงข้อมูลร้อยละ 47.4 และ 52.5 ตามลำดับ ส่วนระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตระดับต่ำพบในด้านการสร้างสรรค์เนื้อหา และด้านการสร้างเครือข่ายทางสังคม ร้อยละ 49.3 และ 60.2 ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการทำงานผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของแรงงานไทยวัยมิลเลนเนียล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพการทำงาน และระดับการใช้อุปกรณ์เพื่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

References

เรวัต แสงสุริยงค์. (2562). บนเส้นทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในสังคมไทย: ยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(55), 294-317.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการศึกษาและจัดทำดัชนีตัวชี้วัดการพัฒนาดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). การสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งขาติ. (2553). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจภาวะทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. แหล่งที่มา https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand -Internet-User-Behavior-2020.aspx สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566.

Chaker, R. (2020). Digital skills are predictors of professional social capital through workplace and social recognition. Italian Journal of Sociology of Education, 12(2), 23-50.

Chang J., & Huynh P. (2016). ASEAN in transformation: The future of jobs at risk of automation. Geneva: International Labour Office.

Bergson-Shilcock, A. (2020). The new landscape of digital literacy: How workers' uneven digital skills affect economic mobility and business competitiveness, and what policymakers can do about it. Washington DC: National Skills Coalition.

Dimock, M. (2019). Defining generations: Where millennials end and generation z begins. Source https://www.pewresearch.org/ short-reads/2019/01/17/where-millennials-end-and-generation-z-begins/ Retrieved on October 28, 2023.

Euajarusphan, A. (2021). Online social media usage behavior, attitude, satisfaction, and online social media literacy of generation x, generation y, and generation z. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 10(2), 44-58.

Grošelj, D., van Deursen, A., Dolničar, V., Burnik, T., & Petrovčič, A. (2021). Measuring internet skills in a general population: A large-scale validation of the short Internet Skills Scale in Slovenia. The Information Society, 37(2), 63-81.

Howe, N., & Strauss, W. (1991). Generations: The History of America's Future, 1584 to 2069. New York: Quill.

Jantavongso, S., & Fusiripong, P. (2021). Ethics, big social data, data sharing, and attitude among the millennial generation: A case of Thailand. The Electronic Journal of Information Systems in Developing Countries, 87(5), 1-16.

Phusrisom, M., & Ayuwat, D. (2022). Factors determining the working patterns of commuters who work in the service-sector in Khon Kaen, Thailand. The International Journal of Interdisciplinary Social and Community Studies, 17(1), 143-152.

Ragnedda, M., Ruiu, M. L., & Addeo, F. (2020). Measuring Digital Capital: An empirical investigation. New Media & Society, 22,(5). 793-816.

van Deursen, A., & van Dijk, J. (2011). Internet skills and the digital divide. New Media & Society, 13(6), 893-911.

van Deursen, A., van Dijk, J., & ten Klooster, P. (2015). Increasing inequalities in what we do online: A longitudinal cross sectional analysis of Internet activities among the Dutch population (2010 to 2013) over gender, age, education, and income. Telematics and Informatics, 32(1), 259–272

van Dijk, J. (2020). The digital divide. Cambridge: Polity.

van Laar, E., van Deursen, A. J. A. M., van Dijk, J. A., & de Haan, J. (2019). Twenty-first century digital skills for the creative industries workforce: Perspectives from industry experts. First Monday, 24(1), 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04