ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงวัดจีนนิกายของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย

ผู้แต่ง

  • เศรษฐพงษ์ จงสงวน
  • สโรชินี ศิริวัฒนา
  • อนันต์ รัศมี

คำสำคัญ:

ทำบุญแก้ปีชง, ตัดสินใจทำบุญ, เจเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

ตั้งแต่โบราณระบบโหราศาสตร์จีนที่มีความเชื่อเรื่องนักษัตรประจำปีโดยใช้สัญลักษณ์รูปสัตว์ 12 ตัว เรียกว่า “ปีนักษัตร” ปีนักษัตรมีทั้งสมพงศ์กันและขัดแย้งกัน  ทุกคนจะมีสัตว์ประจำปีเกิดของตน  เรียกปีที่ขัดแย้งกับปีเกิดของตน และส่งผลไม่ดีนั้นว่า “ปีชง” อันมาจากคำว่า “ชง” ที่หมายถึง ปฏิปักษ์ต่อกัน เป็นพลังบางอย่างที่มองไม่เห็นกระแทกใส่ดวงชะตาส่งผลให้เกณฑ์ดวงชะตาตกต่ำในทุกด้าน ชาวจีนจึงเชื่อว่า ผู้ที่เผชิญกับเรื่อง ปีชงจะมีสิ่งร้าย ๆ เข้ามาในชีวิต และต้องทำพิธีกรรมเพื่อแก้ปีชง การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาระดับของปัจจัยผลัก ปัจจัยดึง ภาพลักษณ์ของวัด ความพึงพอใจของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมให้กลุ่มเจเนอเรชั่นวายตัดสินใจทำบุญแก้ปีชง  โดยใช้แนวทางการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญแก้ปีชงที่วัดจีนนิกายที่มีกิจกรรมแก้ปีชง 4 วัด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ วัดมังกรกมลาวาส วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม และวัดทิพยวารีวิหาร จำนวน 300 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และแบบจำลองสมการโครงสร้าง   

ผลการวิจัยพบว่า 

1.ระดับของปัจจัยผลัก ปัจจัยดึง ภาพลักษณ์ของวัด ความพึงพอใจของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย อยู่ในระดับมาก

2.การตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ได้รับอิทธิพลทางตรงจากภาพลักษณ์ของวัด มากที่สุด รองลงมาคือ ความพึงพอใจของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ปัจจัยผลัก และปัจจัยดึง ตามลำดับ

3. แนวทางการส่งเสริมให้กลุ่มเจเนอเรชั่นวายตัดสินใจทำบุญแก้ปีชง คือควรส่งเสริมภาพลักษณ์ของวัดจีนนิกาย โดยสร้างความรู้ความเข้าใจ การจดจำ ความเชื่อ ความคิด และการตระหนักถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัดจีนนิกายที่กลุ่มเจเนอเรชั่นวายสามารถจดจำและระลึกถึงได้เมื่อกล่าวถึงวัดจีนนิกายนั้น สร้างบุคลากรของวัด ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อยู่ในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามอบรมให้บุคลากรของวัดมีความรู้ทัศนคติ ที่ดีในการบริการเพื่อให้ตอบสนองความพึงพอใจในบริการของพุทธศาสนิกชนทุกกลุ่ม ดูแลบำรุงรักษาอาคารสถานที่ บรรยากาศ สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม ให้อยู่ในสภาพเหมาะสมกับการใช้งาน และรวมทั้งดูแลภูมิทัศน์ของวัดจีนนิกายให้คงเอกลักษณ์ เหมาะสมกับการรองรับพุทธศาสนิกชน พร้อมทั้งการจัด

กิจกรรมภายในวัด การทำบุญแก้ปีชง ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ผลการวิจัยนี้ วัดจีนนิกายสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนา ภาพลักษณ์ของวัด ทั้งด้านกายภาพ การสร้างกิจกรรมในการเผยแผ่ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกัน การวางแผนส่งเสริมคุณภาพของบุคลากร ของวัด ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ยังเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคด้านความเชื่อของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย

References

ถาวร สิกขโกศล. (2560). ความรู้เรื่อง ชง และเรื่องน่ารู้จีน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). เปิดพฤติกรรมคนไทย “สายมู” กว่า 75% เชื่อเรื่องดูดวง กลุ่ม Gen Y มาแรงเป็นอันดับ 1. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2481670.

บดีศร อัฑฒ์วงศ์ไพศาล และธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแก้ปีชงของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 23(2), 37-52.

ภารดี มหาขันธ์. (2560). ความเชื่อเรื่องปีชงของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(48), 129-150.

ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล. (2564). ถอดรหัสงานอนุรักษ์. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564. จากhttps://db.sac.or.th/museum/article/44.

วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์. (2561). เคล็ดลับเสริมดวงในช่วงตรุษจีน. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564. จาก https://www.komchadluek.net/news/313208

เหมือนฝัน คงสมแสวง. (2561). การต่อรองความหมายและการบริโภคสัญญะปีชงในสังคมไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 199-222.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-19