การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลแสนพันอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พระคำไพ สญฺญโม (จันทรังษี)

คำสำคัญ:

การพึ่งพาตนเอง, เศรษฐกิจ, ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และ 3) เพื่อวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งพาตนเองของชุมชนในตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้าน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีท้องถิ่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม มีลักษณะเป็นการรวมตัวกันเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาของตำบล มีการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ของตำบลเพื่อเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญา โดยจัดตั้งกลุ่มงาน 3 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ และกลุ่มออมทรัพย์ มีลักษณะดำเนินงาน 5 ประการได้แก่ มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการตัดสินใจร่วมกัน มีการจัดการทรัพยากรร่วมกัน มีการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกัน และมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
  2. ปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มี 2 ประเภท คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายของรัฐ การส่งเสริมของหน่วยงานภายนอก และการร่วมมือของเครือข่ายภายนอก และปัจจัยภายใน ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา รูปแบบกิจกรรมของชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. การวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งพาตนเองของชุมชนในตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมตามระบบ TERMS Model พบว่า มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบเศรษฐกิจที่ดี มีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอ มีจิตใจที่พร้อมในงานทุกด้าน และมีสังคมและวัฒนธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

References

ประเวศ วะสี, เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2542), หน้า 18.

สุจินต์ ชูลักษณ์, “การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่”, ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม, (คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, 2544), หน้า 5.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 7, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2549), หน้า 1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: คณะทำงานจัดทำหนังสือเรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2554), หน้า 26.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง, 2554), หน้า 158-160.

สุเมธ ตันติเวชกุล, ปัจจัยทางสังคมกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของไทย, (กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2559), หน้า 214.

ไทยรัฐออนไลน์, (13 ธ.ค. 59), ชาวสวนต้นหอมนครพนมยิ้ม อากาศหนาวทำผลผลิตดี, ไทยรัฐ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/809941 [20 กันยายน 2561].

ศุภนุช ตรีเนตร. “การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ : กรณีศึกษาหมู่บ้านวังแสงใต้ ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๗.

อินธิรา ครองศิริ. “การศึกษาตัวแบบการจัดการชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการปกครอง. คณะรัฐประศาสนศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, ๒๕๕๗.

เหมวรรณ เหมะนัค. “การพึ่งตนเองเพื่อการดำรงชีพที่ยั่งยืนของบ้านนาห้วยแคน อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ๒๕๖๐.

ธวัชชัย พินิจใหม่ และคณะ. “การพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านนาโพธิ์ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี”. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์ เกษตร คณะเกษตรศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, ๒๕๕๙.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04