ทุนทางสังคมกับการสร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น กรณีศึกษา บ้านเรณู หมู่ 2 ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • Kittiphid oravong

คำสำคัญ:

ทุนทางสังคม, ความเข้มแข็งของชุมชน, ชุมชนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุม
ชนภูไท อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 2. เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมกับการสร้างความเข็มแข็งของชุมชนภูไท อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม และ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมกับการสร้างความเข็มแข็งของชุมชนภูไท อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนภูไท อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกลุ่มไทลาว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแม่น้ำโขงแยกกลุ่มนี้ออกจากภูไทในภาคเหนือของลาว และญวน ชาวภูไทมีประเพณีวัฒนธรรม การแต่งกาย การละเล่นและอาหารประจำถิ่นของตนเอง นับถือพระพุทธศาสนาและนับถือผีตามบรรพบุรุษ ชาวภูไทมีลักษณะความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ในบ้านเดียวกัน เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ ทำงานได้หลายอาชีพเช่น ทำนา ทำไร่ ค้าวัว ค้าควาย นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าไปขายต่างถิ่นเรียกว่า “นายฮ้อย” เผ่าภูไทเป็นกลุ่มที่พัฒนาได้เร็วกว่าเผ่าอื่น มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้มแข็งในการปกครอง มีหน้าตาที่สวย ผิวพรรณดี กริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับแขกแปลกถิ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง
  2. กระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมกับการสร้างความเข็มแข็งของชุมชนภูไท อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม แบ่งเป็นสองช่วงคือ ช่วงอดีตและปัจจุบัน โดยในอดีตชาวภูไทมีทุนทางสังคมทางธรรมชาติที่ดีมาก ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน ดำรงชีพเอื้ออาศัยกัน มีความเป็นอยู่แบบพอเพียง ร้อยรัดด้วยวัฒนธรรมประเพณีที่เข้มแข็ง ในปัจจุบันเมื่อโลกพัฒนาขึ้นชาวภูไทได้ปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่ มีกลุ่มงานเกิดขึ้นถึง 24 กลุ่ม แต่ที่มีความโดดเด่นและแก้ปัญหาให้กับชุมชนเป็นรูปธรรมได้แก่ กิจกรรมร้านค้าชุมชน กิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและผู้สูงอายุ และกิจกรรมเวทประชุมสภาหมู่บ้าน
  3. ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมกับการสร้างความเข็มแข็งของชุมชนภูไท อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ที่พบในชุมชน ได้แก่ ปัญหาคนภายนอกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ทางเกษตร และปัญหาคนรุ่นใหม่หันไปประกอบอาชีพอื่น โดยชุมชนได้แก้ไขโดยการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เน้นให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม ตลอดทั้งกระจายกิจกรรมต่างๆ ให้คนรุ่นใหม่ได้บริหารจัดการ เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ให้คนรุ่นใหม่ได้เป็นผู้นำในการบริหารจัดการ กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น

References

ทิวเมฆ นาวาบุญนิยม. (2557). “การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม” (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

แพรวนภา เรียงลิลา. (2561) “การจัดการเรียนการสอนเพื่อการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนสัมมาสิกขา

ปฐมอโศก” (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). ทุนทางสังคมที่ควรมี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขใจ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). สืบค้น 25 สิงหาคม 2565, จาก http://nscr.nesdc.go.th/

สุวรรณี คำมั่น. (2551). ทุนทางสังคมที่รัฐต้องจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04