รูปแบบการจัดการขยะแบบครบวงจรของเทศบาลเมืองเขาสามยอด จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • สายใจ เลิศวิริยะประภา

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการขยะ, ขยะมูลฝอย, รูปแบบการจัดการขยะแบบครบวงจร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการการจัดการขยะของเทศบาลเมืองเขาสามยอด 2. พัฒนานวัตกรรมการจัดการขยะของเทศบาลเมืองเขาสามยอด และ 3. นำเสนอนวัตกรรมการจัดการขยะที่ยั่งยืนของเทศบาลเมืองเขาสามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานทั้งการ วิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข ของเทศบาลเมืองเขาสามยอด ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และตัวแทนผู้ให้ข้อมูลจากผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองเขาสามยอดจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบสนทนากลุ่ม(Focus Group ) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. กระบวนการการจัดการขยะของเทศบาลเมืองเขาสามยอด จังหวัดลพบุรี พบว่า กระบวนการจัดการขยะของเทศบาลเมืองเขาสามยอด เทศบาลประสบปัญหาไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย จึงส่งเสริม ให้มีการทิ้งขยะลงถัง และจัดตั้งงบประมาณซื้อถังขยะแจกทั้ง 34 ชุมชนต่อมาหน่วยงานกำหนด นโยบายการจัดการขยะมุ่งสู่ “ชุมชนไร้ถัง”นำคณะศึกษาดูงานองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ และนำไปสู่การประกาศ “ปฏิญญาดอนแก้ว”และส่งมอบคืนถังขยะ ช่วงปี พ.ศ. 2555 ได้มีการประกาศ “ปฏิญญาท่าตอน” โดยเทศบาลเมืองเขาสามยอดได้ดำเนินการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ควบคู่การลดภาวะโลกร้อน และพัฒนากระบวนการจาก “ชุมชนไร้ถัง”ไปสู่ “พลังงานทดแทน” ซึ่ง ปรากฏผลว่าปี พ.ศ. 2557 เทศบาลเมืองเขาสามยอด สามารถพัฒนาเป็นเมืองไร้ถัง และขยายผลต่อ ไปสู่การใช้พลังงานทดแทน และดำเนินการกิจกรรมต่อไปอย่างต่อเนื่องซึ่งจากผลการดำเนินงานดังกล่าว พบว่าปริมาณขยะของชุมชนลดลง 10 ตัน/วัน และปัจจุบันประสบปัญหาในการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ปัญหาการคัดแยกขยะต้นทาง 2. ปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น 3. การแปรรูปจำเป็นต้องแปรรูป เพิ่มขึ้น 4. ปัญหาด้านจิตสำนึก 5. ปัญหากระบวนการจัดการเทศบาล ต้องใช้งบประมาณ 6. ปัญหา สถานที่และการกำจัดขยะมูลฝอย 7.ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
  2. การพัฒนานวัตกรรมการจัดการขยะแบบครบวงจรของเทศบาลเมืองเขาสามยอด พบว่า เทศบาลเมืองเขาสามยอดได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหา ขยะในชุมชน และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน ตลอดจน สามารถตอบสนองการบริหารงานของเทศบาลให้บรรลุผลสำเร็จในการปฏิบัติงานตามภารกิจอำนาจหน้าที่จน สามารถบรรลุถึงเป้าหมาย ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดนโยบาย การตัดสินใจ การวางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการติดตามตรวจสอบและประเมินผล โดยการให้ ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อันจะนำไปสู่การขยายผลสู่การต่อยอดการพัฒนาในการอื่น ๆ และทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งโดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร  
  3. การนำเสนอนวัตกรรมการจัดการขยะที่ยั่งยืนของเทศบาลเมืองเขาสามยอด ได้รูปแบบการจัดการขยะแบบครบวงจร โดยผู้วิจัยนำเสนอผ่านโมเดลต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตามเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) เน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วม ทั้งยังคงให้ ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ ไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ
    (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้ เกิดความมั่นคง และยั่งยืนไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโตเกิดการกระจายรายได้ลงสู่ ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

References

- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมศนู ย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม. (๒๕๖๔). ข้อมูลสถิติ...กุญแจสำคัญไข

ปัญหาขยะ.

- กรมประชาสัมพันธ์ รัฐบาลไทย. ๒๕๕๙.ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทยและนโยบาย

ประเทศไทย ๔.๐

- กรมควบคุมมลพิษ. (๒๕๖๔). สถานการณ์การจัดการขยะในประเทศไทย.

- กรมควบคุมมลพิษ. (๒๕๖๐). แผนแม่บทการบริหารจดั การขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.๒๕๕๙– ๒๕๖๔), หน้า ๓-๔.

- จังหวัดลพบุรี. (๒๕๖๔). แผนพัฒนาจังหวัดลพบุรี ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕ (ฉบับ ทบทวน พ.ศ. ๒๕๖๕)

- สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี. (๒๕๖๔). แผนปฏิบัติการเพื่อการ

จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

- เทศบาลเมืองเขาสามยอด, “บรรยายสรุปผลการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะเทศบาลเมือง

เขาสามยอด”, (กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองเขาสามยอด), ๒๕๖๒.

-วิทูร เอียการนา. "การศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยภายในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์."

วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ๑๕.๒ (๒๐๒๐): ๘๗-๙๙.

-เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อานุภาพ รักษ์สุวรรณ และดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. "แนวทางการพัฒนา

ประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลเมือง หัวหิน." วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ๑๖.๑ (๒๐๒๐): ๑๙-๓๓.

-วงศ์วรรธน์ บุญวัฒน์ และเพ็ชรรัตน์ ไสยสมบัติ. "การนำนโยบายการจัดการขยะของ องค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปปฏิบัติ." วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ๑๕.๓ (๒๐๑๙): ๑๔๗-๑๖๐.

-Phuanpoh, Yanisa, and Prasopchai Pasunon. "นวัตกรรมชุมชนเชื่อมโยง เศรษฐกิจ ชุมชน

สู่ความยั่งยืน." Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University ๘.๒ (๒๐๒๑): ๓๒-๔๔.

-Phromnoi, Siriwadee, et al. "ขะ โหยด โมเดล: นวัตกรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมชุมชน

บ้านบุ่งวังงิ้ว จังหวัดอุตรดิตถ์." Area Based Development Research Journal ๑๒.๑ (๒๐๒๐): ๔๑-๕๘.

- ธีรพงษ์ เพิ่ม. "การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตามหลัก ๕ R’s ของ ชุมชนพรุพี ตำบลท่ายาง อำเภอ

ทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช." วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ๙.๒ (๒๐๑๙): ๑๐๑-๑๑๗.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04