ชุมชนคุณธรรม: ต้นแบบการแก้ไขปัญหาสังคมแบบยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนราชทรัพย์ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • LITSAVANH CHITTAKHAME

คำสำคัญ:

ชุมชนคุณธรรม, คุณธรรม, ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและปัญหาอุปสรรคของชุมชนคุณธรรมต้นแบบ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษากระบวนการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนต้นแบบ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการแก้ไขปัญหาและตัวชี้วัดความสำเร็จของชุมชนต้นแบบ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบร่วมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประวัติความเป็นมาและปัญหาอุปสรรคของชุมชนคุณธรรมต้นแบบ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พบว่า ในอดีต เมื่อ 60 ปีที่ผ่านมาเป็นสวนปลูกผลไม้ เช่นกล้วย มะพร้าว สะเดา เมื่อก่อนไม่มีทางเข้าเพื่อการเดินทางมีเพียงแผ่นไม้วางเป็นสะพาน. ยังไม่เจริญคนในชุมชนไม่คอยมีการติดต่อค้าขาย อาศัยการสัญจรทางน้ำ หลังจากมีถนนคอนกรีตในชอยราชทรัพย์ ส่งผลให้เกิดความเจริญอย่างรวดเร็วในชุมชนจากการเลี้ยงชีพด้วยการทำสวนผู้คนในชุมซนเริ่มออกมาทำงานนอกพื้นที่ ใช้วิถีชีวิตแบบคนเมือง มีบ้านพักอาศัยมากขึ้น มีคนต่างถิ่นมาอาศัยจำนวนมากและในปี พ.ศ. 2551 ชุมชนขอดำเนินการจัดตั้งอย่างเป็นทางการจากสำนักงานเขตบางซื่อเป็น “ชุมชนราชทรัพย์”
  2. กระบวนการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนต้นแบบ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พบว่า การทำงานที่คลอบคลุมในทุกด้านมีแนวทางในการพัฒนาและการดำเนินงานของชุมชนอย่างมีทิศทางตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้เป็นไปตามความต้องการและสามารถแก้ปัญหาที่ชุมชนได้ร่วมกันคิด กำหนดแนวทาง กิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอกด้วยการคำนึงถึงศักยภาพทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน นำปัญหาความต้องการของคนในชุมชนที่ได้จากเวทีประชาคมมาจัดทำแผนงาน/โครงการ มีการบริหารจัดการชุมชนต้นแบบ เป็นชุมชนที่โดดเด่นในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ประกอบกับมีผู้นำ ที่ได้รับการยอมรับ สมาชิกในชุมชนมีเป้าหมายเดียวกัน มีเครือข่ายร่วมพัฒนาที่เข้มแข็ง ชุมชนมีการวางแผนร่วมกับเครือข่ายในการจัดทำแผนชุมชน มีการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของการแก้ไขปัญหา หรือสร้างเครือข่ายที่สามารถเจรจากับชุมชนได้อย่างดีทำให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในชุมชนได้สำเร็จ และด้วยพลังคนในชุมชนที่มีความสามัคคีและมีส่วนร่วม
    รับรู้ข่าวสาร ร่วมคิดไตร่ตรองและแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมประเมินผล มีผู้นำ
    มีชุมชน.
  3. องค์ประกอบการแก้ไขปัญหาและตัวชี้วัดความสำเร็จของชุมชนต้นแบบ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พบว่า การมีการศึกษาที่ดี นโยบายที่ดี ผู้นำดี มีภาครัฐส่งเสรีม มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีกิจกรรมร่วมกัน มีวัฒนธรรมชุมชน และชุมชนได้ร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยราชการเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาแนะนำในการทำงานเท่านั้นส่วนประชาชนสามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาทั้งในบริบทของพื้นที่และแบบองค์รวมในชุมชน เป็นการร่วมกันจัดการศึกษาตลอดชีวิตแก่ชุมชน สามารถอยู่ในสังคมและการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างมีความสุข

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04