คุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, แม่ชีไทยสูงอายุ, การเข้าถึงบริการสุขภาพ, แรงสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 173 คน เป็นแม่ชีไทยสูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-74 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 43.82 ระดับปานกลางร้อยละ 42.33 และระดับน้อย ร้อยละ 13.85 การเข้าถึงบริการสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ มีค่า r=0.343 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) และแรงสนับสนุนทางสังคมมีค่า r=0.321 ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05)
ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาและปรับปรุง ด้านการจัดการ การเข้ารับบริการสุขภาพของแม่ชีไทยสูงอายุ สมควรได้รับการตรวจสุขภาพก่อนประชาชนทั่วไป ส่วนด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในเรื่องปัจจัย สิ่งของและข้อมูลข่าวสารพร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน
References
เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสงขลา. Princess of
Naradhiwas University Journal, 9(3), 94-105.
พัชรี มณีไพโรจน์ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2563). สิทธิในการได้รับสวัสดิการด้านบริการ สาธารณสุขของรัฐ ไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 300-309.
ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง และนัทนิชา หาสุนทรี. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(1), 1-13.
มลฤดี เพ็ชร์ลมุล และนิติกุล บุญแก้ว. (2564). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(2), 140-151.
ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย, พิกิฎ ศรีชนะ, ภัทรกร จ่ายเพ็ง และ อนุชา ลาวงศ์. (2564). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 311-322.
สิริธร บัวแก้ว. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารสห วิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 241-248.
สูจิบัตรในงานประชุมใหญ่สถาบันแม่ชีไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจประชากรสูงอายุ
ในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Carlos Soares. (2012). Quality of life, elderly and physical activity. Scientific Research, 4(2),
Penchansky, R, & Thomas, J. W.(1981). The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Med Care, 19(2), 127-140
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.