การเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุริยา ปวรชโย (ท่อนแก้ว)

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพฤติกรรม, ความรับผิดชอบต่อสังคม, สังคม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี (Mix Methods Reserch) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยประชากรคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 285 คน และกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กิจกรรม จำนวน 15 คน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Sample t-test และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชน รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน และด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
  2. กิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย (2) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาด จัดระเบียบสิ่งของ และแยกขยะ (1) วางแผนดำเนินกิจกรรม โดยให้นักเรียนร่วมกันกำหนด (2.1) ปัญหาในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนที่ต้องการแก้ไข (2.2) สาเหตุของปัญหา (2.3) เป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จ (2.4) หลักธรรมที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม (2.5) แนวทางแก้ไขปัญหา (3) ดำเนินกิจกรรมและสรุปผล และ (4) ติดตามผลการทำกิจกรรม พบว่า หลังการทำกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน สูงกว่า ก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
  3. แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี พบว่า หากต้องการให้บังเกิดผลอย่างยั่งยืน ควรเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายอื่น ๆ โดยเน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมหรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และมีการกำกับ ติดตาม แนะนำ และประเมินผล โดยผู้ปกครองและครู

References

กมลจิตร ช่างเงิน และคณะ. (2565). การให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อลดพฤติกรรมการติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2) 140-152.

เขมจิรา บุญทวี และพูลศักดิ์ หอมสมบัติ. (2564). การปฏิบัติตนด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์ ปริทรรศน์, 3(6) 9-15.

นงนภัส พันธ์พลกฤต. (2561). รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 41-56.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2565). สอนนักเรียนให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม. สืบค้น 10 มกราคม 2565, จาก

https://www.trueplookpanya.com/education/content/82917/-teaartedu-teaart-teamet

บุญญาพร นามวงษ์ และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2565). ความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสารคามพิทยาคม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16 (1), 46-57.

บุญญารัตน์ จันทวี และคณะ. (2563). ศึกษาการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1”, Journal of Arts Management, 4(1), 23-33.

ผดุง จิตเจือจุน. (2565). สถานการณ์ปัจจุบันของเด็กและเยาวชนไทย น่าวิตกในอนาคตยิ่งน่าเป็นห่วง. สืบค้น 10 มกราคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1313057

พรทิพย์ อุ่นศรี และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ, 2(2), 27-44.

ภัทรวัต สัมฤทธิ์ และศุภลักษณ์ สุวรรณชฏ. (2562). ความรู้ สถานการณ์ยาเสพติดและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชน ในชุมชนโนนชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 157-171

มูลนิธิศุภนิมิต, มูลนิธิศุภนิมิตระดมภาคี หนุนยุทธศาสตร์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก, ประชาชาติธุรกิจ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/csr-hr/news-823655, [1 มกราคม 2565].

รวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2564). การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุก วิธีการจัดการกับปัญหาและพฤติกรรมเสี่ยง. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1), 226-228.

รุ่งนภา ตาดเงิน และคณะ, “แนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนอุดมดรุณี”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564) : 53-71.

วันทนีย์ กระแสครุป, “รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดอุทัยธานี”, ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2566), หน้า 198.

ศิริศักดิ์ พันธวงษ์ และคณะ, “การพัฒนาวินัยนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านตูม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (2564) : 199-210.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย, Troubled Childhood III ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของประชากรกลุ่มตัวอย่าง อายุ 18 - 29 ปี, (กรุงเทพมหานคร: ประเทศไทย, 2563), หน้า 5.

สุจิตรา ตรีรัตนนุกูล, “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ สำหรับส่งเสริมกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา”, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา, (วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562), หน้า 36-37.

Natchaphon B, ปัญหา Bully ในโรงเรียน สถานศึกษา คืออะไร ทำไมปัญหานี้ยังคาราคาซังอยู่ในสังคมไทย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.sanook.com/campus/1399919 [9 มกราคม 2565].

Peter Honey and Alan Mumford , 1992, อ้างใน สาวภา วิชาดี, “รูปแบบการเรียนของผู้เรียนในมุมมองของทฤษฎีการเรียนรู้แบบประสบการณ์” Executive Journal, Vol. 31 No. 1 (2011) : 176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31