การพัฒนาศักยภาพแนวทางการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ศักยภาพการท่องเที่ยว, อารยธรรม, โบราณสถานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่องการพัฒนาศักยภาพแนวทางการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวักเพชรบูรณ์ การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ 2) เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง เจ้าหน้าที่โบราณสถาน เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมจังหวัด ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชุมชน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 ท่าน
- ศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวก มีหลายเส้นทาง การรองรับนักท่องเที่ยวมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ครบครัน ด้านการสนับสนุนนักท่องเที่ยวได้รับความรู้และความเข้าใจจากการท่องเที่ยว มีการพัฒนาบุคลากรของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดตั้งคณะกรรมการภายใน ด้านการจัดการมีการจัดกิจกรรมกับชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น การพักโฮมสเตร์ การมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน มีการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวภายในชุมชน มีการส่งเสริมการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เช่น การทำไอศกรีมเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนศรีเทพ มีการปักผ้าแบบดั้งเดิม ลายปักผ้าปักไปตามจินตนาการ ขึ้นลายปักโดยไม่มีการวาดลายก่อน ไม่ใช้เครื่องจักในการปัก ผ้าที่ปักออกมาจึงกลายเป็นหนึ่งผืนหนึ่งลายเดียวในโลกที่ไม่ซ้ำแบบกัน การรักษาความปลอดภัย มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด และเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา ด้านสถานที่พักอยู่ในแหล่งชุมชน ที่พักมีราคาที่เหมาะสม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นครบ ด้านความสะดวกในการใช้บริการ มีลานจอดรถ มีร้านค้า ด้านความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิด ด้านความเชื่อเรื่องโบราณสถานสำคัญทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาเที่ยวชม
- แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ ประกอบด้วย ทุนทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วม ประสบการณ์ร่วมของนักท่องเที่ยวกับชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยว การสื่อสาร และการจัดการแหล่งท่องเที่ยว
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้น
ตุลาคม 2562. จ า ก http://www.trdnrru.net/img/poster1/project01.pdf.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564)
(20 มี.ค. 2560). Access on May 1, 2018. Available From:
https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8370.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2554). อนาคตของเทคโนโลยีในอตุสาหกรรมการท่องเที่ยว (ตอนที่1) วารสาร TAT Review Magazine, 4
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). เข็มทิศท่องเที่ยว. วารสาร. 1/2560 สวัสดีปีระกา มกราคม-มีนาคม, 1-7.
ชูสิทธิ์ ชูชาติ และคณะ. (2543). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตแม่น้ำวาง (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่:
ม.ป.พ.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารวิทยาการท่องเที่ยวไทย นานาชาติ, 13,(2), 32-33.
วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมทรง บุรุษพัฒน์ และคนอื่นๆ. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยโซ่ง. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2563). ปัจจัยอิทธิพลภายนอกที่ส่งผลต่อจิตวิทยาส่วนบุคคลของ นักท่องเที่ยวชาวจีนรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 75-84.
Xie, Philip Feifan. (2004). Authenticating Cultural Tourism: Folk Villages in Hainan, China. UWSpace. from http://hdl.handle.net/10012/975.
UNWTO. (1997). World Tourism Organization. A Specialized Agency of the United Nations. Capitán Haya 42, 28020 Madrid, Spain. Tel.: (34) 91 567 81 00 / Fax: (34) 91 571 37 33
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.