แนวทางส่งเสริมการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี หมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วัชรินทร์ นาคสุวรรณ์
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
เดโช แขน้ำแก้ว
จรวยพร เหมรังษี

บทคัดย่อ

              บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง และ3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี และผู้ส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี และ 2) ผู้ส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี จำนวนทั้งหมด 14 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง และผู้ส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี มีระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1) เลือกกล้วยเล็บมือนาง 1.2) เตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ์ 1.3) กรรมวิธีในการ ทำ และ 1.4) รูปแบบผลิตภัณฑ์ 2) สภาพปัญหาในการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง มี 3 ประเด็น ได้แก่ 2.1) ผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด 2.2) กล้วยแปรรูปล้นตลาด และ 2.3) คนรุ่นใหม่มักไม่ค่อยสนใจในการสืบทอดภูมิปัญญา 3) แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง มี 4 ด้าน ได้แก่ 3.1) ด้านการส่งเสริมการปลูกกล้วยเล็บมือนางในชุมชน 3.2) ด้านการส่งเสริมการสร้างมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรในชุมชน 3.3) ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3.4) ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาและประชาชนผู้สนใจทั่วไป

Article Details

How to Cite
นาคสุวรรณ์ ว., ดำรงวัฒนะ จ. ., เดโชชัย อ. ., แขน้ำแก้ว เ. ., & เหมรังษี จ. . . (2020). แนวทางส่งเสริมการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี หมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 4(1), 11–22. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/240152
บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย . กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

เบญจมาศ ศิลาย้อย. (2545). กล้วย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิลัยเกษตรศาสตร์.

ประนอม โพธิ์ศรี. (2560). แม่ค้าอ่างทองเซ็ง กล้วยล้นตลาดจนราคาตกแต่ขายไม่ออก เหลือแค่หวีละ 7 บาท. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2561 จาก https://www.matichon.co.th /local/news_535506

พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. (2545). แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร. ประมวลสาระชุดวิชาการส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้เรื่องการแปรรูปกล้วย (Bananaprocessing). กรุงเทพมหานคร: สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Economic New Team. (2016). Knowledge and research management for SME entrepreneurs in healthy food marking. Retrieved October 17, 2561, from http://www.prachachat.net/new_detail.phpnemsid=1460346239