จันดีพริกแกง: แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ น้ำพริกแกงในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขั้นตอนการแปรรูปการผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง 2) ศึกษาสภาพปัญหาการผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นตัวแทนผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำพริกแกง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้คิดค้นสูตรและผู้ผลิตพริกแกงรายย่อยในชุมชนตลาดคลองจันดี จำนวนทั้งหมด 4 คน และ 2) กลุ่มผู้สนับสนุนการผลิตพริกแกงรายย่อยในชุมชนตลาดคลองจันดี จำนวนทั้งหมด 10 คน โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า 1) ขั้นตอนการแปรรูปการผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง ได้แก่ 1.1) การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำพริกแกง 1.2) การเตรียมวัตถุดิบการทำน้ำพริกแกง 1.3) ขั้นตอนการทำน้ำพริกแกง และ 1.4) ประโยชน์ของส่วนผสมในน้ำพริกแกง 2) สภาพปัญหาการผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง ได้แก่ 2.1) ด้านการผลิตน้ำพริกแกง มีขั้นตอนการทำแบบเดิม ๆ 2.2) ด้านวัตถุดิบ มีราคาแพงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ 2.3) ด้านบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์แบบเดิมไม่มีการพัฒนาที่ทันสมัย และ 2.4) ด้านการตลาด ขาดการประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่หลากหลาย และ 3) แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง ได้แก่ 3.1) การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมใช้ในการผลิตน้ำพริกแกง 3.2) ส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบในการผลิตน้ำพริกแกง ให้คนในชุมชนมีรายได้และรู้จักการแปรรูปสมุนไพรที่หลากหลาย 3.3) ส่งเสริมด้านบรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุการเก็บน้ำพริกแกง สะอาดและใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 3.4) ส่งเสริมด้านการขายและการตลาดมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มช่องทางการตลาดแบบออนไลน์
Article Details
References
เตชธรรม สังข์คร และนงลักษณ์ ผุดเผือก. (2557). การผลิตเครื่องแกงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน การประชุมสัมมนานานาชาติเรื่อง วิทยาการจัดการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี 2014 วันที่ 22-23 สิงหาคม 2557. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เสาวนิตย์ ชอบบุญ และคณะ. (2556). โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หมู่บ้านเครื่องแกง. ใน โครงการสนับสนุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัย. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2555). ทำดีเพื่อเจ้าพ่อหลวง: เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่อง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: กรมวิทยาศาสตร์บริการ.
กรรณิการ์ สายเทพ และพิชญา เพิ่มไทย. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 1-11.
กลุ่มผู้คิดค้นสูตรและผู้ผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 1. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้คิดค้นสูตรและผู้ผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 2. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้คิดค้นสูตรและผู้ผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 3. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้คิดค้นสูตรและผู้ผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 4. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้สนับสนุนการผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 10. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้สนับสนุนการผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 5. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้สนับสนุนการผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 6. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้สนับสนุนการผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 7. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้สนับสนุนการผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 8. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน . (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
กลุ่มผู้สนับสนุนการผลิตพริกแกงรายย่อยคนที่ 9. (14 มีนาคม 2563). แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงในชุมชน. (ศิริขวัญ หวันจิ, ผู้สัมภาษณ์)
จตุพร คงทอง และคณะ. (2561). แผนกลยุทธ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านนากุน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10 (ฉบับพิเศษ), 36-47.
ณรงค์ศักดิ์ วดีศิริศักดิ์. (2555). นวัตกรรมของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดเชิงสุนทรีย์: กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาการจัดการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ธีรนันท์ ช่วงพิชิต. (2561). ตามรอย สำรับแขกคลองบางหลวง. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://www. sarakadee.com/feature/2001/04/klong_bang-luang.htm
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
พจนา พรหมเพศ. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงบ้านบ่อทราย ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พยุงศักดิ์ มะโนชัย และคณะ. (2563). การพัฒนาน้ำพริกพื้นบ้านเพื่อเป็นอาหารสุขภาพ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 4(2), 50-59.
วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2556). รายงานการศึกษาเพื่อดำเนินการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้กิจกรรมพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านลำในใต้ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. พัทลุง: วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศศิธร พูนโสภิณ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง ยี่ห้ออีซี่โกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สกุลตรา ค้ำชู. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงหรือเครื่องแกงจากพริกหวานชนิดไม่เผ็ดในเชิงพาณิชย์. ใน ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ประจําปีงบประมาณ 2561. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2563). “จันดี”เมืองแห่งสมุนไพรพื้นถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563 จาก https://web.codi.or.th/20190810-7103/
สมจิตร ล้วนจำเริญ. (2555). การจัดการการตลาดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์. (2560). เจาะลึกเทรนด์ Coworking Space ตอนที่1: ทำไมฟรีแลนซ์ถึงติดใจ ห้องทำงานรูปแบบใหม่นี้. เรียกใช้เมื่อ 17 สิงหาคม 2560 จาก www.tcdc.or.th.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Publishers Harper Collins.