โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) หาแนวทางพัฒนาตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ประชากรคือโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 640 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่าและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ประเมินแนวทางพัฒนาปัจจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวแปรในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 1.1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิสรัปชั่น 1.2) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมสถานศึกษา 1.3) สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 1.4) สถานศึกษาแห่งนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ และ 1.5) ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคว์-สแควร์ (χ2) = 102.02, χ2/df = .95, GFI = .99, AGFI = .98 และ RMR = .00 3) แนวทางพัฒนาตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่าผู้บริหารควรดำเนินการ 4 ประเด็นดังนี้ 3.1) เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมจริยธรรม กล้าคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ 3.2) ยึดหลักนิติธรรมและทำงานเป็นทีม 3.3) ส่งเสริมครูผู้สอนใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ผ่านรูปแบบที่หลากหลายในเชิงบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 3.4) ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและสารสนเทศ
Article Details
References
สุมัทนา หาญสุริย์. (2563). การศึกษาบนโลกดิจิทัล. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(31), 9-21.
กรรณิการ์ แก้วประสิทธิ์. (2564). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนบนฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน เอกสารการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชวนะ ทวีอุทิศ. (13 ธันวาคม 2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ศยานนท์ ศิริขันธ์, ผู้สัมภาษณ์)
ชัชชญา พีระธรณิศร์. (2563). ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive Change ของผู้บริหารสถานศึกษา. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 126-139.
ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2564). 5 สิ่งที่ผู้นำยุค Disruption ต้องทำ. เรียกใช้เมื่อ 19 มิถุนายน 2564 จาก http://www.bt-training.com/index.php?lay=show&ac=article &Id=2147572904&Ntype=1
ธวัชชัย ไพใหล. (4 ธันวาคม 2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ศยานนท์ ศิริขันธ์, ผู้สัมภาษณ์)
ธีรพงศ์ แสนยศ. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2548). สถิติชวนใช้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.
ปุญชรัศมิ์ เหมบุรุษ และ วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษที่ส่งเสริมการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(2), 268-280.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 หน้า 49 -53 (1 พฤษภาคม 2562).
รัชพล จอมไตรคุป. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิไลลักษณ์ โภคาพานิชย์. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิชาญ เกษเพชร. (17 ธันวาคม 2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ศยานนท์ ศิริขันธ์, ผู้สัมภาษณ์)
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย การจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 353-360.
สราวุฒิ ไทยสงค์ และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). การบริหารงานบุคลากรโดยใช้เทคโนโลยีในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า(COVID19) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร. ใน เอกสารการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สสิชร์ สาทรพณิชย์. (2562). การนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สพม5. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สัจจา ฝ่ายคำตา. (9 ธันวาคม 2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ศยานนท์ ศิริขันธ์, ผู้สัมภาษณ์)
สันติ สุขสัตย์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สายันต์ บุญใบ. (11 ธันวาคม 2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ศยานนท์ ศิริขันธ์, ผู้สัมภาษณ์)
สำนักแผนและประกันคุณภาพการศึกษา. (2558). แนวทางการดำเนินงานด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักแผนและประกันคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา.เรียกใช้เมื่อ2 มิถุนายน 2565จากhttp://data.bopp-obec.info/emis/school. php?Area_CODE=101719
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). สรุปผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยสถาบัน IMD ปี 2564. เรียกใช้เมื่อ 22 ธันวาคม 2564 จากhttps://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/world-competitiveness/
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2563). ความหมายของศาสนาผ่าน “การรื้อทำลายทางเทคโนโลยี”. วารสารสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย, 15(1), 1-21.
อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Dundon & Elaine. (2002). The Seeds of Innovation: Cultivating the Synergy that Fosters New Ideas. New York: AMACOM.
Hair , J., Black, W., Babin, B., Anderson, R. and Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th Edition. Pearson Prentice Hall: Upper Saddle River.
Hair, J.F., et al. (2014). Multivariate data analysis, New International edition. Harlow: Pearson Education.
Hoque, F. (2015). 5 habits of truly disruptive leaders Fast Company Magazine. Retrieved May 16, 2021, from https://www.fastcompany.com/3052725/5-habits-of-truly-disuptive-leaders
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2005). Educational Administration: Theory Research and Practice. New York: McGraw- Hill.
Ismail, S. (2014). Exponential Organizations: Why new organizations are ten times better, faster, and cheaper than yours (and what to do about it). New York: Diversion Books.