ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบบัญชี

Main Article Content

พรพิมล อิฐรัตน์
ญาณินท์ ตั้งภิญโญพุฒิคุณ
ธีรพรรณ อึ๊งภาภรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีที่มีต่อจำนวนเรื่องสำคัญในการตรวจสอบก่อนและหลังการใช้ มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 701 และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีที่มีต่อจำนวนเรื่องสำคัญในการตรวจสอบทั้งภาพรวมและรายประเด็น หลังจากการใช้มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 701 บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 256 บริษัท ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือข้อมูลจากรายงานทางการเงินและหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - ปี พ.ศ. 2560 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณการแสดงความเห็นในเรื่องสำคัญจากการตรวจสอบมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลังการประกาศใช้มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 701 โดยเปรียบเทียบจากวรรคเน้นในรูปแบบรายงานการสอบบัญชีรูปแบบเดิม กับการเปิดเผยข้อมูลเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรูปแบบใหม่ ในขณะที่การศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ พบว่า มี 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ ได้แก่ ปัจจัยด้านประเภทสำนักงานสอบบัญชี ปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี และปัจจัยอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อเรื่องสำคัญในการตรวจสอบรายประเด็น พบว่า ปัจจัยแต่ละปัจจัยมีผลต่อการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในประเด็นย่อย ยกเว้น ยกเว้นปัจจัยการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีที่ไม่ส่งผลต่อแสดงความเห็นจากการตรวจสอบในประเด็นย่อย

Article Details

How to Cite
อิฐรัตน์ พ. . ., ตั้งภิญโญพุฒิคุณ ญ. ., & อึ๊งภาภรณ์ ธ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยเรื่องสำคัญในการตรวจสอบบัญชี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 35–47. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/262085
บท
บทความวิจัย

References

Caramanis, C., & Spathis, C. (2006). Auditee and audit firm characteristics as determinants of audit qualifications. Managerial Auditing Journal, 21(9), 905–920.

De Angelo, L. E. (1981). Auditor size and audit quality. Journal of Accounting and Economics, 3(5), 183–199.

Fuerman, R. D. & Kraten, M. (2009). The big 4 audit report: Should the public perceive it as a label of quality. Accounting and the Public Interest, 9(1), 148- 165.

Gray, G. L., et al. (2011). Perceptions and misperceptions regarding the unqualified auditor’s report by financial statement preparers, users, and auditors. Accounting Horizons, 25(4), 659–684.

Huang, H. W. et al. (2009). Audit fees for initial audit engagements before and after sox. Auditing, 28(1), 171–190.

IODSA. (2015). The impact of the new auditors report. เข้าถึงได้จาก http://www.iodsa.co.za/news/241065/

Lawrence, A. et al. (2011). Can big 4 versus non-big 4 differences in audit-quality proxies be attributed to client characteristics. Accounting Review, 86(1), 259–286.

Pornupatham, S. & Vichitsarawong, T. (2014). The Draft of New Auditor’s Report: A Challenge of Auditors and Users. Chulalongkorn Business Review, 36(141), 36–54.

Porter, B. & Gowthorpe, C. (2004). Audit expectation-performance gap in the United Kingdom in 1999 and comparison with the Gap in New Zealand in 1989 and in 1999. Edinburgh: Institute of Chartered Accountants of Scotland.

Pratt, J. & Stice, J. D. (1994). The Effects of Client Characteristics on Auditor Litigation Risk Judgments, Required Audit Evidence, and Recommended Audit Fees. The Accounting Review, 69(4), 639-656.

Srijunpeth, S. . (2016). Key Audit Matters in an Auditor’s Reports and Response of the Stock Exchange of Thailand. Journal of Accounting Profession, 13(38), 22-37.

Tangruenrat, C. . (2017). New Auditor’s Report: The 1st-year Experiences. Journal of Accounting Profession, 13(38), 5-21.