การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงาน ด้วยสถาปัตยกรรมเอ็มวีซี

Main Article Content

ศศิพัชร บุญขวัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลของนักศึกษาในการออกฝึกงาน 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงาน 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา ใช้หลักการพัฒนาระบบแบบ SDLC (System Development Life Cycle) โดยเริ่มจาก การรวบรวมความต้องการ การศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ความต้องการ การสรุปเป็นข้อกำหนดลงในเอกสาร การตรวจสอบความต้องการ การออกแบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศ การตรวจสอบความถูกต้อง การทดลองใช้และการประเมินผลระบบสารสนเทศ ในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงาน ผู้วิจัยพัฒนาเป็นลักษณะเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application) ที่มีโครงสร้างแบบสถาปัตยกรรมเอ็มวีซี (MVC Architecture) คือ การแยกการแสดงผล การประมวลผล และการจัดการข้อมูลออกจากกัน โดยใช้ภาษา C#, ASP.NET, CSS, HTML, JavaScript และใช้ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server ซึ่งเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDBMS) และใช้โปรแกรม Visual Studio เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนา ซึ่งระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงานแบ่งผู้ใช้งานระบบออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ผู้ดูแลระบบ คณาจารย์ และนักศึกษา โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ จำนวน 5 คน และประเมินความพึงพอใจของซอฟต์แวร์ จากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานระบบ จำนวน 249 คน ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงาน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 สรุปว่าระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพและเป็นที่พึงพอใจ

Article Details

How to Cite
บุญขวัญ ศ. (2023). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาฝึกงาน ด้วยสถาปัตยกรรมเอ็มวีซี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 408–424. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/262098
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ภานุวัฒน์ ขันจา. (2565). การออกแบบและพัฒนาศูนย์ข้อมูลการวิจัยเชิงพื้นที่สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 15(1), 37-49.

วิวัฒน์ ชินนาทศิริกุล. (2561). การพัฒนาระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 32-41.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Gupta, P. & Govil, M. C. (2010). MVC Design Pattern for the multi framework distributed applications using XML, spring and struts framework. International Journal on Computer Science and Engineering, 2(4), 1047-1051.

Gurung, G. et al. (2020). Software Development Life Cycle Models-A Comparative Study. International Journal of Scientific Research in Computer Science, Engineering and Information Technology, March, 6(4), 30-37.

Hassan, M. et al. (2019). A policy recommendations framework to resolve global software development issues. In 2019 International Conference on Innovative Computing (ICIC) (pp. pp. 1-10). IEEE.

Ismail, F. K. M. & Zubairi, A. M. B. (2022). Item Objective Congruence Analysis for Multidimensional Items: Content Validation of a Reading Test in Sri Lankan University. English Language Teaching, 15(1), 106-117.

Leau, Y. B. et al. (2012). Software development life cycle AGILE vs traditional approaches. In International Conference on Information and Network Technology , 37(1), 162-167.

Menezes, J. et al. (2019). Risk factors in software development projects: a systematic literature review. Software Quality Journal, 27(3), 1149-1174.

Paolone, G. et al. (2020). Automatic code generation of MVC web applications. Retrieved 3 9, 2556, from https://doi.org/10.3390/computers9030056

Sommerville, I. (2011). Software Engineering. (9th ed)Massachusetts, United State. America: Addison-Wesley.

Sunardi, A. (2019). MVC architecture: A comparative study between laravel framework and slim framework in freelancer project monitoring system web based. Procedia Computer Science, 157(2019), 134-141.

Yamashita, T. (2022). Analyzing Likert scale surveys with Rasch models. Retrieved 3 1, 100022, from https://doi.org/10.1016/j.rmal.2022.100022