ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุ ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุ ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น ≤ 0.7 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1.พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 74.2 ความเครียด และการรับรู้ภาวะสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.8 และ 62.1 ตามลำดับ 2. เพศ อายุ รายได้ การศึกษาและโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความเครียด และการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า r = -.142 และ .712 ตามลำดับ) 4. เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ การศึกษา และการรับรู้ภาวะสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้คิดเป็นร้อยละ 63.7 โดยการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจสูงสุด (β = .538) รองลงมาคือ อายุ (β = .235) เพศ (β = .129) สถานภาพสมรส (β = .113) การศึกษา (β = -.095) และรายได้ (β = -.105) ตามลำดับ ดังนั้น ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้สูงอายุควรเน้นการรับรู้ข้อมูลภาวะสุขภาพที่เหมาะสม และส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และนำปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ไปพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะในผู้สูงอายุต่อไป
Article Details
References
ไวริญจน์ เปรมสุข. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b2164672
กรมควบคุมโรค สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิก.
กรมสุขภาพจิต. (2563). เช็คบิลความเครียด. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2301
จรีรัตน์ สุทธิพัฒนางกูร และรัตน์ศิริ ทาโต. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(2), 111-125.
ฉัตรกมล ประจวบลาภและดวงกมล วัตราดุลย. (2563). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ในหญิงวัยหมดประจำเดือน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1): 27-45.
ณัฐปภัสญ์ นวลสีทองและคณะ. (2564). ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 16(2), 78-89.
ดมิสา เพชรทองและคณะ. (2563). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความเครียดและแนวทางการจัดการความเครียด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 1-11.
ทรัพย์ทวี หิรัญเกิดและคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการโรงพยาบาล แก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(2), 97 – 106.
นพนัฐ จำปาเทศและคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43-44), 114-129.
พรรณพัชร สกุลทรงเดช. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรรษมน คัฒมาตย์และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 62-77.
มาโนชญ์ แสงไสยศน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วันทนา เนาว์วัน และอารมณ์ เอี่ยมประเสริฐ. (2563). การจัดการความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพชีวิตในการทำงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 223-232.
วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิภาวรรณ ศิริกังวานกุล และคณะ. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบก. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(2), 99-111.
ศิริรัตน์ จำปีเรือง และคณะ . (2562). การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 189 – 202.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). ปัญหาสุขภาพและโรคที่พบบ่อยใน ผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566 จาก http://www.thaihealth.or.th-ปัญหา สุขภาพและโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ.html
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2566). ระบบตรวจสอบประวัติผู้ป่วย. เรียกใช้เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://nsn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php#.
สุขประเสริฐ ทับสี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(1), 14 – 30.
อังคณา ศรีวิรัญและคณะ. (2562). ปัจจัยทำนายความหวังของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 101-112.
อัญชลี จันทร์สะอาด. (2546). การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของครู สตรีวัยกลางคน จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Faul, F et al. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social. behavioral and biomedical sciences, 39(2), 175-19.
Zhifei He and others. (2016). Factors Influencing Health Knowledge and Behaviors among the Elderly in Rural China. Retrieved April 26, 2016, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27706061/