การพัฒนารูปแบบของบทบาทสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วันจุรี สุวรรณรัตน์
ไชยวัฒน์ เผือกคง
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนบทบาทสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบบทบาทสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ในตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณนำผสมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำกลุ่ม อสม. ผู้นำกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี ผู้นำชุมชน และผู้นำกลุ่มอาชีพ ในตำบลท่าเคย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มย่อย และนำมายืนยันโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการขับเคลื่อนวิสาหากิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน คือ การวางแผน การได้รับผลประโยชน์ การประเมินผล และการปฏิบัติ 2) ปัจจัยสนับสนุนบทบาทสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน คือ งบประมาณ นโยบายภาครัฐ สภาพสังคมและเศรษฐกิจ และการประสานเครือข่าย 3) การพัฒนารูปแบบบทบาทสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า บทบาทสตรีในการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนต้องอาศัยรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบ BSSC ประกอบด้วย งบประมาณ(B) นโยบายของรัฐบาล (S) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ (S) และการประสานเครือข่าย(C) ที่ส่งผลให้สตรีมีบทบาทขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ในตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Article Details

How to Cite
สุวรรณรัตน์ ว., เผือกคง . ไ., & แย้มอิ่ม . ส. (2023). การพัฒนารูปแบบของบทบาทสตรีต่อการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(4), 297–316. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/262503
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2565 จาก http://www.watpon.com/spss

ไชยวัฒน์ เผือกคง. (2561). แนวทางการจัดการสิ่งปฏิกูลจากฟาร์มสุกรของเทศบาลตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี .

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (ฉบับที่ 1). (2548). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1122 ตอนที่ 6 ก หน้า 319-327 (8 มกราคม 2548).

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (ฉบับที่ 2). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก หน้า 32-37 (16 เมษายน 2562).

พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ. (2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 71 ก หน้า 1-20 (19 พฤศจิกายน 2553).

พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ. (2563). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์, 31(3), 146-160.

พีรวิชญ์ จิตร์เพ็ชร์. (2564). เรื่อง การบริหารจัดการธุรกิจวิสาหกิจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(1), 1-13.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม : ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพมหานคร: มงคลการพิมพ์.

ศศินันท์ ศาสตร์สาระ และคณะ. (2564). การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(3), 298-313.

ศุภวิชญ์ โรมแพน. (2561). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตำบลลำชี อำเภอเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(3), 51-57.

สนิทเดช จินตนา. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 11(2), 1-21.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรกาฬสินธุ์, 2(3), 68-85.

สุวรรณา เตชะธีระปรีดา. (2560). เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนา ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(49), 215-245.

อณิษฐา หาญภักดีนิยม. (2564). รูปแบบการขับเคลื่อนบทบาทสตรีต่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 355-371.

อุษณีย์ สุวรรณ์. (2558). บทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 372-391.

Hair, J.F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th). New York: Pearson.