ความเชื่อเรื่องพญานาคในบริบทสังคมไทย

Main Article Content

ณฐอร นพเคราะห์
จันทิมา เขียวแก้ว
ทิพย์พิรุณ พุมดวง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1) ความหมายของความเชื่อ 2) ประเภทของความเชื่อในบริบทสังคมไทย 3) ความเชื่อเรื่องพญานาคในบริบทสังคมไทย และ 4) อิทธิพลของความเชื่อเรื่องพญานาคที่ปรากฏเด่นชัดในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้นำเสนอผ่านกระบวนการทบทวนวรรณกรรม จากรายงานการวิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการ หนังสือ เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องพญานาค สรุปผลได้ว่า 1) ความเชื่อ หมายถึง การยึดมั่นว่าบางสิ่งเป็นความจริง แม้ว่าสิ่งนั้นจะสามารถพิสูจน์ได้หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม เมื่อมนุษย์เกิดความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะแสดงออกมาให้ปรากฏทางกายวาจา โดยมนุษย์แต่ละคนนั้นย่อมมีความเชื่อบางเรื่องที่เหมือนกัน และมีความเชื่อในบางเรื่องที่ไม่เหมือนกัน 2) ประเภทของความเชื่อในบริบทสังคมไทย จำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ความเชื่อที่สืบเนื่องจากศาสนา (ความเชื่อในวัฒนธรรมกระแสหลักสามารถพบได้ทั่วทั้งประเทศ) และความเชื่อพื้นบ้าน (ความเชื่อตามวัฒนธรรมแบบชาวบ้านสามารถพบได้เฉพาะในท้องถิ่นเท่านั้น) 3) ความเชื่อเรื่องพญานาคอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยเฉพาะชาวลุ่มน้ำโขงที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก และมีการนับถือพญานาคซึ่งเชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์สามารถดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ได้ เปรียบเสมือนการนับถือศาสนาท้องถิ่น 4) อิทธิพลของความเชื่อเรื่องพญานาคนับเป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่และทรงอิทธิพลต่อประเทศไทย สะท้อนความเชื่อนี้ผ่านงานศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรมเรื่องอุรังคธาตุนิทาน ประเพณีและเทศกาล เช่น ประเพณีไหลเรือไฟ และวิถีชีวิต เช่น การไถนาจะไม่ไถไปในทิศทางที่เชื่อว่าพญานาคหันหัวไป

Article Details

How to Cite
นพเคราะห์ ณ., เขียวแก้ว จ., & พุมดวง ท. (2023). ความเชื่อเรื่องพญานาคในบริบทสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(6), 98–108. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/264129
บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

กาญจนา แก้วเทพ. (2560). จากปรัชญาวิทยาศาสตร์สู่ปรัชญาสังคมศาสตร์และทฤษฎีนิเทศศาสตร์ในยุคสมัยปัจจุบัน. ใน คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร (บรรณาธิการ). ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร (หน้า 62-87). นนทบุรี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิ่งแก้ว อัตถากร และธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์. (2528). ความเชื่อ. ใน คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาภาษาไทย 8 (บรรณาธิการ). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 8: คติชนวิทยาสำหรับครู (หน้า 659-727). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คำผุย พลลือชา. (2543). ความเชื่อเรื่องนาคในกระบวนการทำนาของชาวนาลาว: กรณีศึกษาชาวนาบ้านสีฐานใต้ อ.เมือง หาดทรายฟอง จ.กำแพงนครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาการพัฒนา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2562). ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

จิตรกร เอมพันธ์. (2545). พญานาค เจ้าแห่งแม่น้ำโขง: พิธีกรรมกับระบบความเชื่อพื้นบ้านแห่งวัฒนธรรมอีสาน. ใน วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2559). อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ธรรมธารา, 2(1), 189-206.

โชติ ศรีสุวรรณ และเกริก ท่วมกลาง. (2560). ตำนานพญานาค และคำชะโนด ปากทางสู่เมืองบาดาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.

ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ทัศชล เทพกำปนาท. (2564). เล่าสู่กันฟังเรื่องนาค-พญานาค. เรียกใช้เมื่อ 5 กันยายน 2564 จาก http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=5911

ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2523). คติชาวบ้าน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.

นวธร นนท์คำวงค์. (4 กรกฎาคม 2565). กำเนิดของพญานาค. (ณฐอร นพเคราะห์, ผู้สัมภาษณ์)

บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน). (2564). เคล็ดลับบูชาพญานาคจากคำสอนของบรรพบุรุษ. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2564 จาก https://www.mcot.net/view/OFuTvmpp

บุปผา ทวีสุข. (2520). คติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2559). ตำนานผาแดงนางไอ่. ใน วรรณกรรมพื้นบ้าน: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (หน้า 67). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พญาลิไทย. (2526). ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย ฉบับตรวจชำระใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

พระครูจิรธรรมรัช. (2557). ศึกษาความสัมพันธ์ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมเจ้าแม่สองนางกับการส่งเสริมจริยธรรมทางสังคมของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงจังหวัดหนองคาย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์.

พระครูปริยัติสารการ. (2551). รูปแบบการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมความเชื่อพื้นฐานระหว่างพุทธพราหมณ์ และผี ต่อความมั่นคงต่อสังคมอีสาน. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. (2470). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

พระมหาคาวี สร้อยสาคำ และไกรฤกษ์ ศิลาคม. (2559). พินิจนาคในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(3), 81-90.

ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2522). ความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์.

วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน. (2557). ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค :การสร้างนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดหนองคาย นครหลวงเวียงจันทน์และแขวงบอลิคำไซ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1611-1626.

วิเชียร นามการ. (2554). การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ศราวดี ภูชมศรี. (2563). ภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องพญานาคผ่านการแสดงชุดพุทธบูชา ลีลานาคราช. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 335-352.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑุฒโน). (2550). พระพุทธศาสนากับสังคมไทยและเองของความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2564 จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

สิทธา เชตวัน. (2526). หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี บุกเมืองพญานาค และท่องนรก. เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2565 จาก https://shorturl.asia/4lLRB

สุชาติ บุษย์ชญานนท์. (2564). พลวัตกระแสพญานาคนิยมในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 4(2), 43-61.

สุดารัตน์ อาฒยะพันธุ์ และ ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ. (2562). การประดิษฐ์สร้างนาฏยประดิษฐ์จากคติความเชื่อเรื่องนาค ศรัทธานาคะ. วารสารช่อพะยอม, 30(2), 185-194.

สุรีพันธุ์ มณีวัต. (2552). ฐานสโมบูชา ธรรมประวัติ ธรรมเทศนา ปฏิปทา พระเดชพระคุณ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ชมรมพุทธศาสน์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

เสฐียร พันธรังษี. (2521). ศาสนาโบราณ. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ และสุภัทรา บุญปัญญโรจน์. (2558). คติชนกับศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอนก รักเงิน. (2555). นาค: สำนึกร่วมทางสังคมของกลุ่มคนอาณาบริเวณลุ่มน้ำโขง. วารสารมหาวิทยาลัยราช ภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 20-29.

Borhek, J. & Curtis, R. (1975). A sociology of belief. New York: Wiley.

Redfield, R. (1989). The little community and Peasant society and culture. (Reprint edition). Illinois: University of Chicago Press.

Rokeach, M. & Parker, S. (1970). Values as social indicators of poverty and race relations in America. The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 388(1), 97-111.

Scott, J. (2006). Documentary Research. New York: SAGE Publications Ltd.

Taggart, S. R. (1994). Living As If: Belief systems in mental health practice. New Jersey: Jossey- Bass.

Tambiah, S. J. (1970). Buddhism and the spirit cults in north-east Thailand. Massachusetts: Cambridge University Press.