การวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารธุรกิจ เกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืน

Main Article Content

เสาวณี วิเลปะนะ
ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย
ชลวิทย์ เจียรจิตต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลรูปแบบการบริหารธุรกิจเกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืน มีการเก็บข้อมูลจากเจ้าของกิจการและพนักงานบริษัท จำนวน 150 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามรูปแบบการบริหารธุรกิจเกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ที่ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (S.D.) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารธุรกิจเกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารธุรกิจเกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืนประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านการสร้างองค์ความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.904 องค์ประกอบด้านภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.975 องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.991 และองค์ประกอบด้านการเสริมสร้างสัมพันธ์ชุมชน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.977 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลรูปแบบการบริหารธุรกิจเกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืนและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลรูปแบบการบริหารธุรกิจเกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติไค-สแคว์ (Chi-Square) ค่าสถิติ c2 เท่ากับ 142.89, df = 146, p = .557, AGFI = 0.92, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.03 ส่วนดัชนีกลุ่มเปรียบเทียบ CFI = 1.00 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ความสอดคล้องทุกดัชนีชี้ให้เห็นว่าโมเดลรูปแบบการบริหารธุรกิจเกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืนมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

How to Cite
วิเลปะนะ เ. ., สูญสิ้นภัย ธ., & เจียรจิตต์ ช. . (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารธุรกิจ เกษตรขนาดกลางเพื่อความยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(5), 405–418. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/264221
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2556). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจทางเกษตร. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://slideplayer.in.th/slide/1879327/

จักรพงษ์ นวลชื่น. (2561). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจขุมขนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นศึกษากรณีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร. เรียกใช้เมื่อ 19 มีนาคม 2566 จากhttp://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF

ชุติมา หวังเป็ญหมัด และธนัซชา บินดุเหล็ม. (2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยาการจัดการ, 1(1), 26-39.

ดวงกมล คิริยงค์. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนศึกษาเฉพาะ 4 ธุรกิจ SME ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในรายการ SME ตีแตกเพื่อชิงรางวัลสุดยอด SME แห่งปีประจำปี 2554. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการประกอบการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยภรณ์ ชูชีพ. (2563). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสืบทอดทายาททางธุรกิจของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย. รังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 73-94.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการและการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: โฟร์เพช.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2562). แผนปฏิรูปประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2566 จากhttps://www.senate.go.th/view/181/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81/TH-TH/

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2553). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้มปี 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2566 จาก http://nscr.nesdc.go.th/ns/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 27 มีนาคม 2566 จาก https://sdgs.nesdc.go.th/

Osterwalder, A. & Pigneur, Y. (2010). Business Model Generation. New Jersey: John Wiley & Sons.