รูปแบบบริหารภาคีเครือข่ายบนพื้นที่สูงเพื่อพัฒนาอัจฉริยะเกษตรประณีต โรงเรียนชุมชนดอยช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อสร้าง เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินรูปแบบบริหารภาคีเครือข่ายบนพื้นที่สูงเพื่อพัฒนาอัจฉริยะเกษตรประณีต โรงเรียนชุมชนดอยช้าง โดยวิธีวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประชุมผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา 34 คน สนทนากลุ่มชุมชนและโรงเรียนร่วมพัฒนา 11 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบโดยนำไปใช้กับภาคีเครือข่ายในปี 2564-2565 และ 4) ประเมินรูปแบบโดยภาคีเครือข่าย 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสรุปข้อมูล แบบบันทึกการประชุม ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาอัจฉริยะเกษตรประณีตเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนประยุกต์ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาผ่านการทำอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียนและนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ โดยมีภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ ฝึกประสบการณ์ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขอบข่ายความร่วมมือ ภาคีเครือข่าย กระบวนการ และการประเมินผล และมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการและแสวงหาเครือข่าย ขั้นวางแผนและจัดองค์การ ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นติดตามและประเมินผล และขั้นปรับปรุงและขยายผล 3) โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้อัจฉริยะเกษตรประณีต 6 แหล่งเรียนรู้ นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 18.83 และ 18.87) และภาคีเครือข่ายมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. 0.23) และ 4) ภาคีเครือข่ายมีความคิดเห็นต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.63, S.D. 0.18)
Article Details
References
กุลทัต หงส์ชยางกูร และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2562). การสร้างและการบริหารเครือข่าย. เรียกใช้เมื่อ 4 มีนาคม 2564 จาก http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1598_5f69ce9304e9 15f69ce.pdf
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และอรุณศรี จิตต์แจ้ง. (2556). พลังเครือข่ายในพื้นที่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระปลัดวีระศักดิ์ ธีรงฺกุโร และเอนก ใยอินทร์. (2564). เกษตรอัจฉริยะ : รูปแบบการจัดการเกษตรบนพื้นที่สูงของชุมชน จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 149-162.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2556). การสร้างและบริหารเครือข่ายในยุคปัจจุบัน. เรียกใช้เมื่อ 4 มีนาคม 2564 จาก https://www.ldi.or.th/2016/08/30การสร้างและบริหารเครือ/
ยงยุทธ ยะบุญธง และชูชีพ พุทธประเสริฐ. (2557). รูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายสถานศึกษาที่เปิดเลิศในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โรงเรียนชุมชนดอยช้าง. (2563). บริบทพื้นที่ชุมชนและโรงเรียนชุมชดอยช้าง. เชียงราย: โรงเรียนชุมชนดอยช้าง.
โรงเรียนชุมชนดอยช้าง. (2564). หลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียนชุมชนดอยช้าง. เชียงราย: โรงเรียนชุมชนดอยช้าง.
วสันต์ สุทธาวาศ และสมพร สามทองกล่ำ. (2561). เมื่อภาคีเข้มแข็ง… คุณภาพการศึกษาไทยจึงเข้มข้น : การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานยุคใหม่ บนฐานการมีส่วนร่วมจาก ภาคีเครือข่าย (ตอน 1). Edsiam.com. เรียกใช้เมื่อ 4 มีนาคม 2564 จาก http://www.edsiam.com/ภาคีเครือข่าย/
วิทยา จันทร์ศิลา. (2561). การบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
สาธิต ปรัชญาอริยะกุล. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเชิงบูรณาการ. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 274-288.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษารูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์. (2564). หลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน (Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming). กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา.
Hanson, E.M. (2003). Education Administration and organizational behavior. (5th ed.). Boston: Pearson Education.