การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจนาภิเษก 2) สังกัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจนาภิเษก 2) สังกัดกรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสองกลุ่ม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจนาภิเษก 2) สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 66 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน และสุ่มอย่างง่ายวิธีการจัดการเรียนรู้ 2 วิธี เข้าห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
เขมิกา เขมาระกุล และคณะ. (2566). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(03), 47-63.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมแรงรวมพลังเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธิติมา อ่อนเยียะ และคณะ. (2565). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน แบบออนไลน์ เรื่อง ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสรคาม (JETC), 5(15), 60-72.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2556 ก). การสร้างการเรียนรู้ สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
วิจารณ์ พานิช. (2556 ข). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สยา ทันตะเวช และชนะศักดิ์ วงษ์วีระวินิจ. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 19 แพร่ระบาด: กรณีศึกษาวิทยาลัย. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 1-16.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Awidi, I. T. & Paynter, M. (2019). The impact of a flipped classroom approach on student learning experience. Computers & education, 128(1), 269-283.
Best, J. W. & Kahn, J. V. (2003). Research in Education 9th ed. Boston: A Pearson Educational Company.
Çakiroğlu, Ü., et al. (2020). Flipping the experimentation process: influences on science process skills. Educational Technology Research & Development, 68(6), 3425–3448.
Erbil, D. G. & Kocabaş, A. (2020). Flipping the 4th grade social studies course in a cooperative way: Effects on academic achievement and motivation. Studies in Educational Evaluation, 66, 100878. doi:https://doi.org/10.1016/j.stueduc.2020.100878.
Gómez-García, G., et al. (2020). The contribution of the flipped classroom method to the development of information literacy: A systematic review. Sustainability, 12(18), 7273.
Huang, Y. M., et al. (2022). Applying a business simulation game in a flipped classroom to enhance engagement, learning achievement, and higher-order thinking skills. Computers & Education, 183, 104494. doi:https://doi.org/10.1016/j.compedu.2022.104494.
Leung, J. Y., et al. (2014). Short review of the flipped classroom approach. Medical Education, 48(11), 1127-1127.
Nja, C. O., et al. (2022). Students’ attitude and academic achievement in a flipped classroom. Heliyon, 8 (1), e08792. https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2022.e08792.
Ruiz-Jiménez, M. C., et al. (2022). Students’ attitude: Key to understanding the improvement of their academic RESULTS in a flipped classroom environment. The International Journal of Management Education, 20(2), 100635. doi:https://doi.org/10.1016/j.ijme.2022.100635.
Wang, Q., et al. (2022). Effects of flipped classroom on nursing psychomotor skill instruction for active and passive learners: A mixed methods study. Journal of Professional Nursing, 39, 146-155.
Zhao, J., et al. (2021). Effects of gamified interactive e-books on students’ flipped learning performance, motivation, and meta-cognition tendency in a mathematics course. Educational Technology Research & Development, 69(6), 3255–3280.
Zheng, L., et al. (2020). The effectiveness of the flipped classroom on students’ learning achievement and learning motivation. Journal of Educational Technology & Society, 23(1), 1-15.
Zheng, X., et al. (2020). A pilot study examining the impact of collaborative mind mapping strategy in a flipped classroom: learning achievement, self-efficacy, motivation, and students’ acceptance. Educational Technology Research & Development, 68(6), 3527–3545.