การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

Main Article Content

ธนัณชัย สิงห์มาตย์
พิมพ์พรรณ คัยนันทน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 2) เสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม ประเภทแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 109 กลุ่ม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จากการตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในเกณฑ์ดี ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีอิทธิพลต่อศักยภาพการแข่งขันและมีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งตัวแปรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ความสมดุลของธรรมชาติ ตัวแปรความเข้มแข็งของชุมชนที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ การมีส่วนร่วม การวิจัยในระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คนใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีการวิพากษ์ของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันแนวทางในการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไปสู่การแก้ปัญหา และการพัฒนาความรู้ความสามารถของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามให้สูงขึ้น ได้พัฒนาแนวทางทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้ชื่อว่า BPOP เป็น Framwork ในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

Article Details

How to Cite
สิงห์มาตย์ ธ., & คัยนันทน์ พ. (2023). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคามตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(6), 368–377. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/265254
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสารจำกัด.

ชาญยุทธ์ ภานุทัต. (2551). แนวทางในการตัดสินเลือกเพาะเห็ด. กรุงเทพมหานคร: สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย.

นราวุฒิ สังข์รักษา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น. ใน จังหวัดราชบุรี ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัฒน์กมล อ่อนสำลี. (2564). การปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนในสภาวะการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 195-206.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2554). ข้อมูลการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2544). ใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

อนุชา คุณมี. (2551). ผลกระทบของกลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Best, J. W. (1970). Research in education. Englwood Cliffs: NJ Prentice-Hall.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychology testing. (5th ed). New York: Harper Collins Publishers Ins.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis.(7th ed). New York: Pearson Education Inc.

Stan, V., & Saporta, G. (2016). Customer Satisfaction and PLS Structural Equation Modelling An Application to Automobile Market. Retrieved July 18, 2020, from htpp://cedric.cnam.fr/ PUBLIS/RC825.pdf.