การพัฒนาทักษะการบวกเลขของผู้เรียนที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญาระดับคาบเส้นโดยใช้โครงงานสะตีมศึกษาเป็นฐาน

Main Article Content

วาทินี ดอนป่าน
รัชนีกร ทองสุขดี
พิกุล เลียวสิริพงศ์
สร้อยสุดา วิทยากร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการบวกเลขโดยใช้โครงงานสะตีมศึกษาเป็นฐานเรื่อง รถบรรทุกสนุกคิดสำหรับกรณีศึกษาที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับคาบเส้น เพศชาย อายุ 8 ปีชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเรียนร่วมในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กรณีศึกษาที่เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการสอนเฉพาะบุคคลจำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) แบบประเมินพฤติกรรมขณะเรียนของกรณีศึกษา 4) แบบบันทึกการให้คะแนนชิ้นงานโครงงานและเกณฑ์การประเมินและ 5) แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมและแนวทางการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะทำโครงงาน พร้อมบันทึกภาพวีดิทัศน์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตาราง แผนภูมิ และรูปภาพประกอบคำบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ผลคะแนนและค่าเฉลี่ยร้อยละของทั้ง 4 แผนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดย ผลคะแนนและค่าเฉลี่ยร้อยละของทั้ง 4 แผน ก่อนเรียนเท่ากับ 19.25 (ร้อยละ 72.50) และหลังเรียน เท่ากับ 24.74 (ร้อยละ 90.83) ผลต่างของแผนที่ 2 - 4 คะแนนเท่ากับ 7.3 และคิดเป็นร้อยละ 24.44 (ไม่รวมแผนที่ 1 เนื่องจากทั้งก่อนและหลังเรียนได้คะแนน 10 เท่ากัน) และจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนโดยรวมพบว่า เมื่อใช้โครงงานสะตีมศึกษาเป็นฐานเรื่องรถบรรทุกสนุกคิด อย่างมีขั้นตอนจากง่ายไปยาก มีสื่อที่น่าสนใจใช้ได้จริง ให้การเสริมแรงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้กรณีศึกษามีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ สามารถบวกเลขมีทดผลลัพธ์ไม่เกิน 100 โดยปฏิบัติตามขั้นตอนด้วยตนเองอย่างคล่องแคล่ว มั่นใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้นซึ่งจะเป็นฐานในการเรียนระดับชั้นที่สูงขึ้น

Article Details

How to Cite
ดอนป่าน ว., ทองสุขดี ร., เลียวสิริพงศ์ พ., & วิทยากร ส. (2023). การพัฒนาทักษะการบวกเลขของผู้เรียนที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญาระดับคาบเส้นโดยใช้โครงงานสะตีมศึกษาเป็นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(7), 216–225. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/266303
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับน้อย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุลยา ก่อสุวรรณ และยุวดี วิริยางกูร. (2561). การสอนและช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและเรียนรู้ช้า (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริชาติ ประเสริฐสังข์ และณัฐวุฒิ พิมขาลี. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 132-143.

รัฐพงษ์ โพธิรังสิยากร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะตีมศึกษา ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิริยะ ฤาชัยพานิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช! กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). STEAM ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก. วารสารศรุศาสตร์, 45(1), 320-334.

ศุภวัลย์ ตันวรรณรักษ์. (2558). การจัดการเรียนรู้ STEM ในระดับปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สุนารี ศรีบุญ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 526-543.

Hwang, J. & Taylor, J. (2016). Stemming on STEM: A STEM Education Framework for Students with Disabilities. Journal of Science Education for student with Disabilities, 19(1), 39-49.

Park, H. J. et al. (2016). Teachers' perceptions and practices of STEAM education in South Korea. EurasiaJournal of Mathematics, Science and TechnologyEducation, 12(7),1739-1753.