อิทธิพลของกระแสเงินสดที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงสถานการณ์โควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของกระแสเงินสดที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงสถานการณ์โควิด 19 โดยเก็บรวมรวมข้อมูลทุติยภูมิรายปี ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2565 จำนวน 157 ข้อมูลโดยเก็บข้อมูลพาแนล (Panel Data) เปรียบวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลอง Fixed Effect Regression Model (FEM) กับการวิเคราะห์แบบ Random Effect Regression Model (REM) ผลการศึกษา พบว่า แบบจำลองที่เหมาะสมใช้วิธีการ Fixed-effect Panel OLS แบบจำลองอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ มีความเหมาะสม (Prob. = 0.0000) โดยเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน (ln_CFFi,t) และจำนวนคณะกรรมการของบริษัท (Board) มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในทิศทางตรงข้ามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 1% และ 5% ตามลำดับ ค่า R - squared เท่ากับ 0.7153,แบบจำลองอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ มีความเหมาะสม (Prob. = 0.0000) โดยเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน (ln_CFFi,t) และจำนวนคณะกรรมการของบริษัท (Board) มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในทิศทางตรงข้ามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 1% และ 10% ตามลำดับ ค่า R - squared เท่ากับ 0.7558 และแบบจำลองอัตรากำไรสุทธิ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ มีความเหมาะสม (Prob. = 0.0000) โดยเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน (ln_CFFi,t) และจำนวนคณะกรรมการของบริษัท (Board) มีอิทธิพลต่ออัตรากำไรสุทธิ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในทิศทางตรงข้ามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 1% และ 5% ตามลำดับ ค่า R - squared เท่ากับ 0.7558
Article Details
References
กฤตพงศ์ วัชระนุกุล และกนกอร แก้วประภา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลองค์ประกอบกำไร และราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(3), 230-249.
กิตติศักดิ์ เคลือบหิรัญ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชลิต ทองดี และภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับการขึ้นเครื่องหมายจ่ายเงินปันผล. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ชาลินี แสงสร้อย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ข้อมูลรายชื่อบริษัท/หลักทรัพย์. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.set.or.th/th/market/get-quote/stock/
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). มูลค่าตามบัญชี. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2566 จาก https://member.set.or.th/ set/education/glossary.do?contentId=64
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2566). บทวิเคราะห์ Research Intelligence ในหัวข้อ COVID-19 Impact on the Thai Economy and Vulnerability of Thai Firms. เรียกใช้เมื่อ 8 พฤษภาคม 2566 จาก https://thaipublica.org/2020/04/krungsri-research-covid19-vulnerability-
thai-firms/
นภดล ร่มโพธิ์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จของระบบการวัดผลการปฏิบัติงานองค์กรกับความสำเร็จทางการเงิน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(16), 43-50.
นภสินธุ์ สานติวัตร. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจ่ายเงินปันผลและการเปลี่ยนแปลงของกำไรในอนาคต. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(3) ,1-21.
มนตรี พิริยะกุล. (2566). Panel data analysis. วารสารรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 30(2), 41-54.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2560). มิติใหม่ของงบการเงินและการวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติเพรส.
อภิญญา สินจรูญศักดิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างกำไรสุทธิ, กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน,สินทรัพย์สุทธิกับกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยรังสิต.
Bhattacharya, S. (1979). Imperfect Information, Dividend Policy, and "The Bird in the Hand" Fallacy. The Bell Journal of Economics, 10(1), 259-270.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
James, G. et al. (2017). An Introduction to Statistical Learning: With Applications in R. (Spring Texts in Atatistics). (7th Ed.). New York: Springer.
Lintner, J. (1956). Distribution of Incomes of Corporations Among Dividends, Retained Earnings, and Taxes. The American Economic Review, 46(2), 97-113.
Loughran, T. & Ritter, J. R. (1997). The operating performance of firms conducting seasoned equity offerings. The journal of finance, 52(5), 1823-1850.
Luu, T. V. et al. (2008). Performance measurement of construction firms in developing countries. Construction management and economics, 26(4), 373-386.