ปัจจัยส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพ และ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 60 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ มีระดับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพได้ร้อยละ 38.60 (R2 = .386) โดยเพศเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (β = .405 และ .329 ตามลำดับ)สามารถเขียนสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานได้ว่าพฤติกรรมสุขภาพ = .405 (เพศ) + .329 (ความรอบรู้ด้านสุขภาพ) ส่วนอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และดัชนีมวลกาย ไม่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพจากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของบุคคลากร ร่วมกับการสร้างกำลังใจ เพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรสายสนับสนุนให้เพิ่มขึ้น
Article Details
References
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. (2566). รายชื่อบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีงบประมาณ 2566. นครราชสีมา: กลุ่มบริหารและยุทธศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.
กรมควบคุมโรค. (2558). คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กองสุขศึกษา . (2566). คู่มือการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. สำหรับแกนนำสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา . (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์.
กองสุขศึกษา . (2561). กลยุทธการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา.
กองสุขศึกษา . (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: 25 มีเดีย.
กองสุขศึกษา . (2565). คู่มือความรู้แกนนำด้านสุขภาพวัยทำงานในเขตเมือง. กรุงเทพมหานคร: 25 มีเดีย.
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
เกษแก้ว เสียงเพราะ. (2562). สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทกานต์ วลัยเสถียร และคณะ. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. วารสาร สคร. 9, 27(1), 46-55.
ชนวนทอง ธนสุกาญจน์ และคณะ. (2561). แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน.
ฌานิน สินศุข และอธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ต้นทุนทางจิตวิทยา และคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย, 53(1), 41-55.
ณฐินี พงศ์ไพฑูรย์สิน และคณะ. (2563). พฤติกรรมสุขภาพ (3อ.2ส.) และแนวทางการจัดการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(2), 95-108.
ดวงเดือน ฤทธิเดช และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนบุคคลและความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(2), 13-24.
พรรทิพย์ ขัดทรายขาว และพัชรี ศรีกุตา. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตาม หลัก 3อ. 2ส. ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 174-190.
พิมลพรรณ ดีเมฆ และศิริพร เงินทอง. (2562). พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
เพ็ญวิภา นิลเนตร และณฐกร นิลเนตร. (2566). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของประชาชนวัยทำงานในพื้นที่หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 6. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 5(1), 27-38.
มลินี สมภพเจริญ. (2563). การสื่อสารสุขภาพเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ราตรี งามพร้อม. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี. ใน รายงานการวิจัย. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี.
วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. (2565). ผลการสำรวจภาวะสุขภาพของบุคลากรสาย สนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. นครราชสีมา: กลุ่มบริหารและยุทธศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.
สำราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2564). นิทัศน์แนวคิดแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรนุช ดวงเบี้ย. (2560). การบริหารบุคลากรสาธารณสุข เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดลำปาง. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 7(1), 13-25.
อรอนงค์ คงเรือง. (2563). ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและหลักพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของบุคลากรครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 5(1), 44-62.