รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ภัทรวลัญช์ รัตนสิริอำไพ
สุรีย์ จันทรโมลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบฯ และทดลองใช้ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ ในเรื่อง ทัศนคติต่อการนอนหลับ พฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อคุณภาพการนอนหลับ คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 : การวิเคราะห์สภาพปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง 384 คน ใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิทส์เบิร์ก (IOC =1.00, Reliability =.77) และสัมภาษณ์เชิงลึกภาคีเครือข่าย 12 คน พบคุณภาพการนอนหลับระดับ ไม่ดี ร้อยละ 69.80 ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานการสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในระยะที่ 2 ระยะที่ 2 : การพัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิค A-I-C และทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มทดลอง 40 คน ที่มีคุณภาพการนอนหลับระดับ ไม่ดี เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ระยะที่ 3 : ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบ โดยเปรียบเทียบหลังการทดลองในกลุ่มทดลอง สัปดาห์ที่ 5 โดยใช้สถิติ Independent t - test ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยแผนกิจกรรมการเรียนรู้ 8 กิจกรรมย่อย ร่วมกับการใช้ไลน์กลุ่ม และสื่อ AR ในกลุ่มทดลองมีประสิทธิผลในการพัฒนาทัศนคติด้านบวกต่อการนอนหลับ พฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อการมีคุณภาพการนอนหลับ และคุณภาพการนอนหลับ ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
รัตนสิริอำไพ ภ., & จันทรโมลี ส. (2023). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(8), 119–129. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/266460
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). บทความด้านสุขภาพจิต ปัจจัยที่เป็นตัวการให้นอนไม่หลับ. เรียกใช้เมื่อ 29 ธันวาคม 2562 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29860.

กรมอนามัย. (2566). สุขอนามัยที่ดีในการนอนหลับ 10 ประการ. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2566 จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/anamai-toons/world-sleep-day-2/

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี. (2565). ระบบฐานข้อมูล. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก https://hpc4. anamai.moph.go.th/th.

สุธรรม นันทมงคลชัย. (2564). ครอบครัวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: อิโมชั่น อาร์ต.

สุรีย์ จันทรโมลี. (2543). กลวิธีทางสุขศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ธรมมนิติ.

Beck, A et al. (1979). Cognitive therapy of depression. New York: Guilford.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences, (2nd ed.). Hillsdale: NJ: Erlbaum.

Morin, C. M. (1993). Insomnia: psychological assessment and management. New York: Guilford.

United Nation. (2018). Aging. Retrieved December 25 , 2018, from http://www.un.org/en/sections/ Issuesdepth/ageing/

WHO. (2018). Active Aging : A Policy Framwork. Retrieved December 15, 2018, from https://apps. who.int/iris/handle/10665/67215.

World Population Data Sheet. (2021). Population Data. Retrieved August 9 , 2022 , from http://sdg.iisd.org/news/2021-population-data-sheet-highlights-declining-fertility-rates/

Zou, Y. et al. (2019). The prevalence and clinical risk factors of insomnia in the Chinese elderly based on comprehensive geriatric assessment in Chongqing population. Psychogeriatrics, 19(4), 384-390.