รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน เป็นการวิจัยและพัฒนา มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใช้ศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สังเกตการณ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทยและสังเกตการจัดนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการฯ คือ เยาวชนอายุ 18 - 25 ปี ที่เข้าชมนิทรรศการฯ 53 คน และเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะ 32 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน และแบบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยจากผลงาน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม และการประเมินผลงานศิลปะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน ใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT โดยนิทรรศการมี 2 ส่วน คือ 1) พื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม และ 2) พื้นที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ผลการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการ พบว่า เยาวชนมีความคิดเห็นและพึงพอใจต่อรูปแบบนิทรรศการในระดับมากที่สุด ( = 4.86, SD = 0.28) ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทยในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.83, SD = 0.15) ผลการประเมินงานศิลปะที่มีการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (
= 13, SD = 0.29)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางนำภูมิปัญญาไทยเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). สมองซีกขวามีค่ามากกว่าที่คิด. เรียกใช้เมื่อ 16 กันยายน 2564 จาก http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1747
ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีติ พฤกษ์อุดม. (2560). การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงนารถ ร่มเย็น และคณะ. (2561). ผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 10(1), 81-95.
บังอร ศิริสัญลักษณ์. (2560). ทุนมนุษย์ของเจนเนอเรชั่นซีกับความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(1), 36-45.
ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2549). การออกแบบนิทรรศการ (ฉบับกระเป๋า). กรุงเทพมหานคร: หจก. เอมี่ เทรดดิ้ง.
พิริยา สร้อยแก้ว และคณะ. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT. วารสารครุศาสตร์, 47(1), 251-271.
วิจารณ์ พานิช. (2562). เป้าหมายของการเรียนรู้คือเปลี่ยนแปลงสมอง. เรียกใช้เมื่อ 23 กันยายน 2564 จาก https://thepotential.org/2019/11/11/vijarn-panich02/
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). สังคม 4 เจเนอเรชั่น. เรียกใช้เมื่อ 21 กันยายน 2564 จาก https://www. thaihealth.or.th/Content/24492-
สุภรัตน์ เบญญากาจ. (2562). แนวทางการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(5), 1173-1189.
อัจฉรา ทองพลาย. (2530). บทบาทของครูในการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสารัตถศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bernarduzz, L. F. . (2015). Cross Fertilization Between Museums and Schools, Science and Art, History and Multimedia. Journal Interchange, 46(1), 73-94.
Hoffding, S. . (2019). Participation and Receptivity in the Art Museum - A Phenomenological Exposition. Journal of Museum Education, 42(4), 376-384.
Huitt, W. (2009). Individual differences: The 4MAT system. In Educational Psychology Interactive. Valdosta: Valdosta State University.
McCarthy, B. (1980). The 4 MAT system: Teaching to learning styles with right/left techniques. Chicago: Excel.
Piaget, J. (1972). Intellectual evolution form adolescence to adulthood. Journal Human Development, 15(1), 1-12.