การศึกษาต้นทุนและความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เสาวนีย์ รัฐนิธิคุณานนท์
ไอรดา สุดสังข์
ณัฏฐธิดา เริงธนพิบูลย์
นิตยา วันโสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 200 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ชุดเด็ก แบบที่ 2 เสื้อคลุมสตรี แบบที่ 3 กระเป๋า และแบบสอบถามการศึกษาความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความสวยงาม ด้านกรรมวิธีการผลิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาจากการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบพบว่า ชุดที่ใช้วัตถุดิบมากที่สุด คือ แบบที่ 2 เสื้อคลุมสตรี มีต้นทุนวัตถุดิบ 1,398.33 บาท รองลง คือ แบบที่ 1 ชุดเด็ก มีต้นทุนวัตถุดิบ 789.66 บาท และแบบที่ 3 กระเป๋า มีต้นทุนวัตถุดิบ 705.68 บาท ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ ต่อต้นแบบของที่ระลึก แบบที่ 3 กระป๋า และแบบที่ 1 ชุดเด็ก ได้รับความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.56 S.D. = 0.59) และ (gif.latex?\bar{x} = 4.52 S.D. = 0.55) ตามลำดับ แบบที่ 2 เสื้อคลุมสตรี ได้รับความพึงพอใจระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.45 S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ด้านควาสวยงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านกรรมวิธีการผลิต โดยรวมทุกด้านได้รับความพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

How to Cite
รัฐนิธิคุณานนท์ เ., สุดสังข์ ไ., เริงธนพิบูลย์ ณ., & วันโสภา น. (2023). การศึกษาต้นทุนและความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกจากผ้าปักชาติพันธุ์ม้ง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(8), 21–34. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/266631
บท
บทความวิจัย
Author Biography

เสาวนีย์ รัฐนิธิคุณานนท์, คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพมานคร

-

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานประจำปี 2565 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2566 จาก https://api.tat.or.th/upload/live/about_tat/9565pdf

กิ่งกนก รัตนมณี และคณะ. (2560). การศึกษาการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 75-84.

กิตติกรณ์ บำรุงบุญ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(2), 7-24.

ฉัตรดาว ไชยหล่อ และจริยา ทรงพระ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของขวัญของที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองเกาะยอ จังหวัดสงขลา. ใน รายงานการวิจัย. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ถนัดกิจ จันกิเสน. (2566). เปิดผลวิจัยทำไมแบรนด์ไทยถึงไม่ปังพร้อม 5 รหัสลับนำทางหลุดพ้นกับดักธุรกิจ. เรียกใช้เมื่อ 1 มกราคม 2566 จาก https://thestandard.co/thai-brand-research/

ธวัชชัย มงคลสกุลฤทธิ์. (2550). คัมภร์การตั้งราคาสินค้า. กรุงเทพมหานคร: ไอ เอ็ม บุคส์.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ศรีกาจนา พลอาสา. (2546). การตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเชิงอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊ค.

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2565). แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกัลยาณิวัฒนา. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฏาคม 2566 จาก http://libray.vmu.ac.th/ntic

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). การจัดการความรู้กับนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สมิทธ์ นิยะสม. (2562). การใช้ระบบต้นทุนกิจกรรมเพื่อวางแผนการผลิต กรณีศึกษา บริษัทผลิตอุปกรณ์ การแพทย์. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธิษา ศรพรหม และคณะ. (2559). การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าปักอัตลักษณ์ชาติพันธุ์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 111-123.

สุวภัทร ศรีจองแสง. (2561). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม ตําบลโนนก่อ อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 20-47.

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่แดด. (2561). ประชากรตำบลแม่แดด. เรียกใช้เมื่อ 3 ตุลาคม 2565 จาก http://maedad.go.th/index.php?mod=ZGl5&typeMQ

อรอุมา สำลี และคณะ. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ชุมชน อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 58-77.

John A. Miller. (2020). Model your way to better business performance. Journal of Business Economics and Management, 21(2), 564-592.