ภาษาไร้รสนิยม: สุนทรียะไทยในวัฒนธรรมบริโภคนิยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอพฤติกรรมการรับรู้และการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมเมือง
ที่มีต่อมุมมองของรสนิยมและสุนทรียะทางความงามอันสอดรับไปกับวัฒนธรรมบริโภคนิยมซึ่งในปัจจุบัน
ถือเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักและกลายเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทย เนื้อหาของบทความแบ่งออกเป็นสามส่วน ประกอบส่วนแรก การเกิดสภาวะของการโหยหาอดีตของผู้คนปัจจุบัน
ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนที่สองเป็นการสะท้อนความเหลื่อมล้ำผ่านรูปแบบของวัตถุที่ถูกมองข้ามและถูกตีตราสถานะด้วยข้าวของเครื่องใช้ในการอุปโภคบริโภค
ในชีวิตประจำวันซึ่งกลายเป็นวัตถุดิบต่อการค้นหาตัวตนความเป็นไทยและสร้างสรรค์เป็นผลงานของนักออกแบบหลากหลายสาขาทำให้เกิดการค้นพบตัวตนของความเป็นไทยที่แท้จริง คือ วิถีของการดำเนินชีวิตประจำวันของสามัญชน โดยการออกแบบคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้สอยมากกว่าความงามตามมาตรฐานสากล ส่วนสุดท้ายนำเสนอการพิจารณาประเด็น “ภาษาไร้รสนิยม” ที่อาจเปรียบได้กับภาษาชาวบ้านมักให้ความรู้สึกของการโหยหาอดีตและเป็นการสื่อสารความมีตัวตนในสังคมไทยที่สามารถดำรงอยู่ได้ทุกช่วงเวลา เมื่อพิจารณาในมุมมองของผู้ที่เห็นคุณค่าสิ่งเหล่านี้เปรียบดั่งมรดกภูมิปัญญาของคนธรรมดาที่ไม่ได้แตกต่างหรือด้อยค่ากว่าภูมิปัญญาจากสกุลช่างใด ๆ และเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่มีชีวิตสามารถนำกลับมาใช้ได้เสมออย่างง่าย ๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ภาษาไร้รสนิยมจึงเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารทางความรู้สึกสะท้อนถึงสุนทรียะไทยที่สอดรับกับบริบทเศรษฐกิจและสังคมในกระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยม
Article Details
References
เดอะสตรัคเจอร์. (2565). วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540. วิกฤตที่ทำให้ประเทศไทยล้ม ก่อนที่จะลุกขึ้นมาใหม่ เป็นไทยที่แข็งแรงมั่นคงกว่าเดิม. เรียกใช้เมื่อ 23 มีนาคม มีนาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/tKZj2
ถนอม ชาภักดี. (28 กุมภาพันธ์ 2540). ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช Chef-Conceptual Artist. เนชั่นสุดสัปดาห์, หน้า 66-67.
ธีรยุทธ บุญมี. (2546). โลก Modern & Postmodern. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.
บริษัท เวอร์ค่อน ประเทศไทย จำกัด. (2563). Contemporaries จานที่ยังไม่ได้ล้าง ก็เป็นศิลปะกับเขาได้เหมือนกันนะ! เรียกใช้เมื่อ 13 เมษายน 2566 จาก https://shorturl.asia/Gad81
ประชา สุวีรานนท์. (2554). อัตลักษณ์ไทย จากไทยสู่ไทย ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน.
ภาณุ อิงคะวัต. (2538). ฮอทด็อก แฮมเบอร์กอร์ และแอปเปิ้ลพาย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก.
ภูมิพิชญ์ ยาสิทธิ์. (2560). ถอดบทเรียนวิกฤติต้มยำกุ้งผ่านเศรษฐกิจประเทศไทยและอาเซียน. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2566 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_ link.php?nid=45243
รุ่งนภา พิมมะศรี. (2565). “ต้มยำกุ้ง” กับ “IMF” วิกฤติร่วมยุคสมัย ที่พรากความฝันหนุ่มสาวไทยและเกาหลี ไม่ต่างกัน. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://plus.thairath.co.th/topic/business/101333
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2547). ศิลปะสมัยใหม่ Postmodern Art. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการพิมพ์.
วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ. (2548). เมืองใหญ่ในวงเล็บ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: แพรว สำนักพิมพ์.
สรรเสริญ สันติธญะวงศ์. (2560). ศิลปะในศตวรรษที่ 20. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เอ็กสเปซแกลอรี่. (2566). ศิลปินผู้ลดช่องว่างระหว่างศิลปะกับชีวิต ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช. เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2566 จาก https://xspace.gallery/blogview?i_uid=7r0cz56ewnjm
Kant, I. (1987). Critique of Judgment, Translated with an Introduction by Warner S, Pluhar. Cambridge: Hackett.
Smith, P. C. (2005). Very Bangkok in The City of The Senses. (1 nd ed). Bangkok: River book publisher.