ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง

Main Article Content

ณัฐพล ศรีใจ
อภิชาติ พลประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมและคณะ ด้านพุทธิพิสัยและจิตพิสัย ทฤษฎีพหุศิลปศึกษา เชิงภูมิปัญญาไทย หลักการจัดศิลปะชุมชน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบชุดกิจกรรม ได้แก่ 1) ปราชญ์ชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ 4) ครูผู้สอนในสถานศึกษา 5) ผู้เชี่ยวชาญการจัดศิลปะชุมชน จำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างชุดกิจกรรม คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างงานลายคำกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา จากการศึกษาเอกสารและสรุปผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปผลการวิจัยเป็นชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน ประกอบด้วยหลักการจัดกิจกรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านเทคนิค 3) ด้านรูปแบบกิจกรรม 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการเผยแพร่ ชุดกิจกรรมแบ่งเป็น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเรียนรู้ชุมชน ยลงานศิลปกรรม 2) กิจกรรม 4 เทคนิคของงานลายคำ 3) กิจกรรมร่วมมือสร้างสรรค์ ลายคำร่วมสมัย 4) กิจกรรมนิทรรศการสร้างศิลป์ถิ่นลำปาง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปาง 2) แบบวัดเจตคติต่อการเห็นคุณค่างานลายคำสกุลช่างลำปาง 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรม ผลการประเมินความตรงเชิงเนื้อหาชุดกิจกรรม (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าชุดกิจกรรมดังกล่าวมีความสอดคล้องในระดับ 0.8

Article Details

How to Cite
ศรีใจ ณ., & พลประเสริฐ อ. (2023). ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(8), 201–210. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/266901
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีติ พฤกษ์อุดม. (2560). การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2556). ความเข้าใจในงานจิตรกรรมไทยประเพณี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2561). จิตวิทยาศิลปะ: สุนทรียศาสตร์เชิงประจักษ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559. (2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 19 ก หน้า 1 (7 มีนาคม 2563).

เพ็ญสุภา สุคตะ. (2563). ภาพบานประตูก่อนบูรณะ อนุสรณ์ต่างหน้าชิ้นสุดท้าย ของ “วิหารวัดหมื่นล้าน”. เรียกใช้เมื่อ 31 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.matichonweekly.com/column/article _333130

ลิปิกร มาแก้ว. (2558). ลายคำน้ำแต้ม. เชียงใหม่: โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2548). ทัศนศิลปศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการพิมพ์.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการประชุมทางวิชาการเรื่องทิศทางวัฒนธรรมกับการศึกษาในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

สุรพล ดำริห์กุล. (2564). ลายคำล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

สุวิภา จำปาวัลย์ และชัปนะ ปิ่นเงิน. (2553). การศึกษาพุทธสัญลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิชาติ พลประเสริฐ และสริตา เจือศรีกุล. (2561). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อชุมชนในมหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1), 86-98.