กิจกรรมศิลปะบูรณาการเสียงธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน

Main Article Content

ประภาสิริ อยู่สุข
อภิชาติ พลประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากิจกรรมศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเสียงธรรมชาติ รวมถึงทฤษฎี และ แนวคิดเกี่ยวกับเสียงธรรมชาติ ที่ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ ที่มีต่อการเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมศิลปะบูรณาการเสียงธรรมชาติในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมศิลปะบูรณาการเสียงธรรมชาติเพื่อส่งสริมการเห็นคุณค่าสำหรับเยาวชน ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้เทคนิควิธีเชิงคุณภาพและปริมาณ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเพื่อการสร้างกิจกรรม ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 3 ด้าน จำนวน 11 ท่านประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณาการกิจกรรม 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านสร้างสรรค์งานศิลปะ โดยได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรม และทดลองใช้กิจกรรมกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ผลการวิจัย ผู้วิจัยสังเคราะห์กิจกรรมศิลปะบูรณาการเสียงธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน ประกอบด้วย กิจกรรมเข้าใจเสียงธรรมชาติผ่านเกม bingo และ กิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานจากการฟังเสียงธรรมชาติ โดยใช้เสียงธรรมชาติ 3 รูปแบบ ได้แก่ เสียงธรรมชาติชนบท, เสียงธรรมชาติในป่า และเสียงธรรมชาติฝนตกในชนบท จากการสัมภาษณ์เยาวชนที่ทดลองใช้กิจกรรมให้ความคิดเห็น ดังนี้ การฟังเสียงอย่างลึกซึ้งทำให้เกิดจินตนาการถึงความหลากหลายความแตกต่างของเสียงในแต่ละระบบนิเวศและเห็นความสำคัญของธรรมชาติที่สมบูรณ์ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากเสียงธรรมชาติ ด้วยปัจจัยต่างๆดังกล่าวทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าและเกิดความคิดที่อยากจะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่หลากหลายให้คงอยู่

Article Details

How to Cite
อยู่สุข ป., & พลประเสริฐ อ. (2023). กิจกรรมศิลปะบูรณาการเสียงธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(9), 271–281. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/267082
บท
บทความวิจัย

References

เอกศักดิ์ บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน. เพชรบุรี: สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.

ประไพ ฉลาดคิด. (2548). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: เกษมศรี ซี.พี.

สืบ นาคสเถียร และสุรพล ดวงแข. (2534). อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนโลกมัวมน, ตะโกนก้องจากพงไพร. กรุงเทพมหานคร: สารมวลชน.

John Ruskin. (1907). Modern painters. New York: E.P. Dutton.

Ning sced. (2551). ลักษณะของการจัดการเรียนรู้สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 26 มกราคม 2565 จาก http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.

Parsons, M.J. (1987). How We Understand Art: A Cognitive Developmental Account of Aesthetic Experience. New York: Cambridge University Press.

Pretorius, M. . (2017). A metaphysical and neuropsychological assessment of musical tonesto affect the brain, relax the mind, and heal the body. Cape Town, 7550, South Africa: African Online Scientific Information Systems (Pty) Ltd t/a AOSIS.

Q. LI, et al . (2009). Effect of Phytoncide from trees on human natural killer cell function. In Department of Hygiene and Public Health, Nippon Medical Schoo. Tokyo, IChiba University, Chiba.

Ulrich, R. S. (1984). View through a window may influence recovery from surgery. Science, 224(4647), 420–421.

Wassily Kandinsky. (1947). On the spiritual in art. New York: Published by the Solomon R. Guggenheim Foundation for the Museum of Non-Objective Painting.