การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นการปลูกกัญชง เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) เพื่อสร้างและพัฒนาหาประสิทธิภาพของหลักสูตรท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นและ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกกัญชง เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คนตัวแปรอิสระคือ หลักสูตรท้องถิ่น ตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการปฏิบัติงานและความพึงพอใจ ระยะเวลาการทดลอง 18สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้คือ หลักสูตรท้องถิ่น การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบสังเกตและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบแบบไม่อิสระ t-test และวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนต้องเน้นทักษะความรู้พื้นฐานการประกอบอาชีพการเรียนรู้ตลอดชีวิตนักเรียนส่วนหนึ่งมีพื้นฐานการอ่านเขียนสื่อความต่ำขาดทักษะการทำงานกลุ่มและไม่สนใจงานด้านเกษตรกรรม 2) การสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย จุดประสงค์ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้าง สาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผล แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หน่วย จำนวน 18 แผนประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ค่า E1/E2 83.36/82.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 3) ผลการใช้หลักสูตร ผ่านเกณฑ์ จำนวน 27คน คิดเป็นร้อยละ86.48 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 23.12, S.D. = 1.07) 4) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (
= 4.10, S.D. = 0.14)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ. (2562). ใยกัญชงมหัศจรรย์เส้นใยแห่งสายวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าม้ง. วารสารวัฒนธรรม, 58(1). 112-117.
คณะกรรมการควบคุมและกำกับดูแลนโยบายกัญชงและกัญชา. (2564). กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ. ใน การประชุมคณะกรรมการควบคุมกำกับดูแลนโยบายกัญชงและกัญชา ครั้งที่ 6/2564 ณ ห้องประชุมสารภี ชั้น 1 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒนา มัคคสมัน. (2550). การสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศราวุธ ปิจนันท์ และสุภาณี เส็งศรี. (2565). แหล่งเรียนรู้ผ้าใยกัญชง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษา, 5(1) 238-258.
สมยศ นาวีการ. (2525). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.
สาธนี พรมวงศ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการทอผ้าชนเผ่าม้งด้วยใยกัญชงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอพบพระจังหวัดตาก. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2570. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf
Rehman, M. et al. (2021). Evaluation of hemp (Cannabis sativa L.) as an industrial crop: a review. Environmental Science and Pollution Research, 28(38), 52832–52843.