การออกแบบอัตลักษณ์พื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน และแนวทางการปรับรูปแบบตามขนาดพื้นที่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่จะใช้ในพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) เพื่อออกแบบพื้นที่ต้นแบบตามแนวคิดการสร้างอัตลักษณ์พื้นที่แสดงสินค้าชุมชน และการปรับรูปแบบตามลักษณะพื้นที่ 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดสรรพื้นที่แสดงสินค้าชุมชน ที่มีลักษณะพิเศษสามารถปรับขนาดได้ ในการวิจัยได้กำหนดให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อสร้างอัตลักษณ์ในการออกแบบพื้นที่แสดงสินค้า ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมพื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยผู้วิจัยได้กำหนดให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นพื้นที่ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผลการประเมินคะแนนเฉลี่ย( ) สูงสุด = 5.00 ได้แก่ ประวัติศาสตร์โบราณคดี สถาปัตยกรรมศาสนสถาน วัด และสาขาช่างฝีมือ คือการจักสานปลาตะเพียน นำมาสร้างสรรค์อัตลักษณ์ 4 หมวดหมู่ ได้แก่ รูปทรงอัตลักษณ์ ลวดลาย อัตลักษณ์ สีอัตลักษณ์และวัสดุอัตลักษณ์ ซึ่งอัตลักษณ์เหล่านี้ช่วยเสริมสร้างการจดจำที่ชัดเจนและสามารถสื่อถึงอัตลักษณ์ในพื้นที่แสดงสินค้าได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการจัดกลุ่มสินค้า การจัดแสดงโชว์สินค้าที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ผู้วิจัยได้การออกแบบและจัดสร้างพื้นที่แสดงสินค้าต้นแบบ 4 รูปแบบ การปรับขยายขนาดพื้นที่แบบดับเบิ้ลไซส์ที่สามารถจัดวางเชื่อมต่อตามความต้องการ โดยการออกแบบได้คำนึงถึงความงามของสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ สามารถแสดงออกถึงอัตลักษณ์ได้อย่างเหมาะสม สร้างความน่าจดจำ สร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าเพิ่มมากขึ้น การออกแบบพื้นที่แสดงสินค้า จึงเป็นพื้นที่สำคัญที่ใช้เป็นศูนย์กลางในการสื่อสารอัตลักษณ์ไปยังผู้บริโภคเชื่อมโยงไปสู่การออกแบบที่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ เพื่อการจัดวางจำหน่ายสินค้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ และสร้างเสริมภาพลักษณ์ให้กับชุมชน
Article Details
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: อินฟินิตี้เพรส.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. กรุงเทพมหานคร: ฮั่วซินการพิมพ์.
นงค์นุช เจริญพร. (22 เมษายน 2564). การออกแบบอัตลักษณ์พื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและแนวทางการปรับรูปแบบตามขนาดพื้นที่. (อภิชาติ ทวีวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)
นัดดาวดี บุญญะเดโช. (2562). การออกแบบภาพลักษณ์อุทัยธานีโมเดล เมืองแห่งสุนทรียวัฒนธรรม. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิติ มณีเนตร. (2555). การศึกษาสัญญะทางศิลปะและงานออกแบบตกแต่งภายใน พระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพรชบุรี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ระยอง แก้วสิทธิ์. (22 เมษายน 2564). การออกแบบอัตลักษณ์พื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและแนวทางการปรับรูปแบบตามขนาดพื้นที่. (อภิชาติ ทวีวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2541). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม : มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิศิษฏ์ เพียรการค้า. (9 เมษายน 2564). การออกแบบอัตลักษณ์พื้นที่แสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและแนวทางการปรับรูปแบบตามขนาดพื้นที่. (อภิชาติ ทวีวัฒน์, ผู้สัมภาษณ์)
สมภพ จงจิตต์โพธา. (2554). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
สันติ เล็กสุขุม. (2555). ศิลปะอยุธยา : งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2566). บรรยายสุรุป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2565. เรียกใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2566 จาก https://ww2.ayutthaya.go.th/ebook/detail/29/data.html
Kobayashi, S. (1998). Colorist. Japan: Kodansha International Ltd.