แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

กรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย
อนันต์ ธรรมชาลัย
ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของธุรกิจร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจร้านอาหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการธุรกิจร้านอาหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการเพิ่มประสิทธิผล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถามผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร 400 แห่ง นำข้อมูลวิเคราะห์เชิงสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยข้อมูลทุติยภูมิและสัมภาษณ์เชิงลึก 26 ราย นำข้อมูลวิเคราะห์ SWOT และ TOWS Matrix เพื่อสังเคราะห์แนวทางเพิ่มประสิทธิผลธุรกิจร้านอาหาร ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจร้านอาหารเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตตามปกติ และยังพบปัญหาด้านต้นทุน ค่าใช้จ่าย พนักงาน การแข่งขัน การตลาดและการขายที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมเทคโนโลยี และพบว่า ปัจจัยประสิทธิผลของธุรกิจเมื่อจำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจ ด้านขนาดธุรกิจ เงินลงทุน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และประสิทธิผลของธุรกิจ เมื่อจำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจ ด้านรูปแบบ ระยะเวลา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยประสิทธิผลของธุรกิจโดยภาพรวมได้ร้อยละ 48.9 โดยมีปัจจัยการจัดการธุรกิจ ด้านการตลาดการขาย การนำเข้าวัตถุดิบ การผลิตและพนักงาน ส่งผลต่อประสิทธิผลของธุรกิจร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และนำเสนอ 8 แนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิผล ได้แก่ สร้างอัตลักษณ์และนวัตกรรม ส่งเสริมเมนูไทยยอดนิยมและสุขภาพ กลยุทธ์ที่ทันสมัย ภาครัฐสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการบริหารงานยุคใหม่ พัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพและทักษะรอบด้าน รักษามาตรฐานสินค้าให้มีคุณภาพและการบริการที่ประทับใจ และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการบริหารจัดการ การดำเนินงานและการบริการที่ทันสมัย

Article Details

How to Cite
ชินประสิทธิ์ชัย ก., ธรรมชาลัย อ., & จุฑามาศ ป. (2023). แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(12), 104–114. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/269342
บท
บทความวิจัย

References

กนกทิพย์ บียะศิริพนธ์. (2551). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านอาหารเจ ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2566). ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2566 จาก www.dbd.go.th

กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจบริการ กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2566). สถิติผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2566 จาก www.dbd.go.th

จุฑามาศ พีรพัชระ. (2561). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร. ใน ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณัฐวุฒิ รุ่งเสถียรภูธร. (2559). ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการและสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารส่าหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรัชญา เหินสว่าง และชาญชัย จิวจินดา. (2563). ปัจจัยความสำเร็จของการประกอบธุรกิจร้านอาหาร ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์, 8(3), 106-115.

พรทิพย์ อินทรพรอุดม. (2558). แนวทางการทางการตลาดธุรกิจร้านอาหารคลีนฟู้ดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

พีรญา กัณฑบุตร. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก:SMEs. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 2(1), 59-76.

สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารในยุคปกติวิถีใหม่สำหรับผู้ประกอบการ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 498-512.

Best, J. W. & Kahn. J. V. (1993). Research in Education. Boston, Master of Arts: Allyn and Bacom.

Humphrey, S. (2005). SWOT Analysis for Management Consulting. Retrieved March 10, 2022, from https://www.sri.com/sites/default/files/brochures/dec-05.pdf.