อนาคตภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับการศึกษาภาคบังคับในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2565 – 2575)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ของประเทศไทยและประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงด้านการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) อนาคตภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565 - 2575) และ 3) จัดทำข้อเสนอ
เชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565 - 2575) โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR จากผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ จำนวน 17 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ของประเทศไทยและประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงด้านคณิตศาสตร์ 2) การศึกษาอนาคตภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ และ 3) การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565 - 2575) โดยใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และสอบถาม วิเคราะห์ข้อด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของประเทศไทยและประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงมีองค์ประกอบหลัก คือ เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) อนาคตภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565 - 2575) มี 3 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อย และ 114 รายการ ทุกรายการมีค่ามัธยมฐานเท่ากับ 5 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ตั้งแต่ 0.00 - 1.00 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565 - 2575) มี 3 ด้าน จำนวน 45 ข้อเสนอ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. 0.50)
Article Details
References
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2526). องค์ประกอบของการเรียนการสอน.เอกสารการสอน ชุด วิชาการสอนภาษาไทย หน่วยที่ 1-8. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ศุภลักษณ์ ทองจีน. (2560). เอกสารประกอบการสอน การออกแบบและการจัดการเรียนรู้. อุดรธานี: ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานผลการศึกษาการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ. สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ 37/2559. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2543). “การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ” ในเอกสารการสอน ชุด วิชาการสอน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หน่วยที่ 1-7. กรุงเทพมหานคร: ป.สัมพันธ์การพิมพ์.
Arias O. E. et al. (2020). Learning-Mathematics-in-the-21st-Century-Adding Technology to the Equation. Retrieved April 25, 2020, from https://publications.iadb.org/en/learningmathe matics-in-the-21st-century-adding-technology-to-the equation
Mevarech, Z. & B Kramarski. (2014). Critical Maths for Innovation Societies: The Role of Metacognitive Pedagogies, OECD Publishing. Retrieved April 19, 2020, from http://dx.doi. org/10.1787/9789264223561-en
Ministry of Education and Research. (2014). National curricula for basic schools. Retrieved April 17, 2021, from https://www.hm.ee/en/national-curricula - 2014
Ministry of Education Singapore. (2012). Mathematics Syllabus Primary Ones to Six Implementation Starting with 2013 Primary One Cohort. Retrieved April 23, 2020, from https://www. moe.gov.sg
The Education Bureau HKSARQ. (2017). Mathematics Education Key Learning Area Curriculum Guide (Primary 1 - Secondary 6). Retrieved April 19, 2020, from https://www.edb.gov.hk /en/curriculum-development/kla/ma/index.html