การออกแบบสินค้าที่ระลึกเพื่อส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ให้เป็นศูนย์กลางใหม่ ของการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ศุภารมย์ ประสาทแก้ว
รัชพล แย้มกลีบ
คณิน ไพรวันรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดพระรูปสู่การเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยนำองค์ความรู้จากการทำโครงการในปีที่ 1 และ 2 มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัยนำไปประยุกต์ในการออกแบบลวดลายบนสินค้าที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป มีเป้าหมายเพื่อออกแบบลวดลายบนสินค้าที่ระลึก การคัดสรรลวดลายต่าง ๆ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) ร่วมกันของ 4 ฝ่ายระหว่างคณะนักวิจัย เจ้าอาวาส คณะกรรมการวัด และตัวแทนชุมชน จำนวน 10 คน ผ่านการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง สรุปร่วมกันว่าจะทำการออกแบบลวดลายที่มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของวัดพระรูป เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากของที่ระลึกอื่น ๆ จากต้นแบบโบราณวัตถุชิ้นเอกที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป คือ พระพุทธบาทไม้ ที่ใช้ลายพระแท่นวัชรอาสน์ ซึ่งแสดงถึงการตรัสรู้ และเป็นการแสดงว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ที่รู้แจ้ง ลายพระแม่ธรณีบีบมวยผม และลายภาพของสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบในภาพเรื่องราวพุทธประวัติตอนผจญมาร-ชนะมาร ได้แก่ ช้าง ม้า นก เต่า โดยผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกสำหรับการจัดจำหน่ายในพิพิธภัณฑ์วัดพระรูปมี 3 ชนิด ได้แก่ ถุงผ้า พวงกุญแจ และปลอกกระดาษสำหรับสวมแก้วน้ำ ผลการถ่ายทอดรูปแบบการออกแบบและองค์ความรู้ให้แก่วัดและชุมชน พบว่ามีความพึงพอใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นสินค้าที่ระลึกเพื่อพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์วัดพระรูปเป็นศูนย์กลางใหม่ของการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี

Article Details

How to Cite
ประสาทแก้ว ศ., แย้มกลีบ ร., & ไพรวันรัตน์ ค. (2024). การออกแบบสินค้าที่ระลึกเพื่อส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ให้เป็นศูนย์กลางใหม่ ของการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(1), 311–322. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/270347
บท
บทความวิจัย

References

จุรีวรรณ จันพลา และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทาง เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสาร Veridian E–Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 82-98.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ระลึกชนเผ่าภาคเหนือเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีศึกษาชนเผ่าม้งและเย้า. เชียงราย: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พนัชกร สิมะขจรบุญ และเอกรินทร์ จินดา. (2561). การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขนมหวานพื้นถิ่นของชุมชนเทศบาลตำบลบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าการท่องเที่ยว. วารสาร Veridian E–Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 3,634-3,625.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2545). ศิลปะพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สิปประภา.

ศุภชัย ชาญวรรณกุล และเทิดชาย ช่วยบํารุง. (2562). การจัดการการสื่อความหมายของศิลปะไทยในสนามบินสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 25-34.

สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธร และคณะ. (2564). การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรีให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมกับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21(ปีที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช).

สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธร และคณะ. (2565). การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับพิพิธภัณฑ์วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมกับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 (ปีที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช).

สุชาติ อิ่มสำราญ และคณะ. (2564). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 33(2), 115-129.

Mikell, P. G. (2000). Automation, Production Systems, and Computer-Integrated Manufacturing. (2nd ed.). New Jersey, U.S.: Prentice Hall.

Phriwanrat, K. (2020). The Research and Development of Tie-dyed Handicraft Products from Krabi Province for the Designing of Ko Klang Community’s Contemporary Souvenirs, Leading Krabi Province to Creative City. Humanities, Arts and Social Sciences Studies (HASSS), 20(1), 119-137.