การสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเส้นทางทางการเมืองที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2531-2549 2) ศึกษากระบวนการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2531-2549 3) ศึกษาวิธีการสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2531-2549 และ 4) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2531-2549 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง โดยมีการแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 7 กลุ่มจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) เส้นทางการเมืองของ ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ ช่วงระหว่าง พ.ศ 2531-2549 ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ จนกระทั่งถึงการวางมือทางการเมือง ท่านได้แก้ปัญหาและวิกฤตของประเทศมากมาย 2) กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของ ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นผู้ส่งสารทางการเมืองที่ดีและสื่อสารทางการเมืองออกมาในรูปแบบลักษณะของธรรมาธิปไตยซึ่งทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการสื่อสารทางการเมือง 3) วิธีการสื่อสารทางการเมืองของ ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ คือ การปาฐกถามีการใช้หลักวาทวิทยา และการใช้หลักตรรกศาสตร์ในการอ้างเหตุผลเพื่อโน้มน้าวใจบุคคล และ 4) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของ ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ มีกลยุทธ์การโน้มน้าวใจและวาทศิลป์ในการสื่อสารทางการเมืองที่ดี
Article Details
References
กรศิวิชย์ วังศิริวิวัฒน์ และสมเกียรติ วันทะนะ. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำทางการเมืองของนายชวน หลีกภัย ตามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเขตนครตรัง ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรัง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 11(1) ,77-104.
กิ่งแก้ว ศรีสาลีกุลรัตน์. (2565). ภาวะผู้นำ. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org /posts/199694
นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: บ.สถาพร กรุ๊ป จำกัด.
ประกิต สันตินิยม. (2555). กระบวนการสื่อสารทางการเมืองเพื่อการพัฒนาด้านความมั่นคงในพื้นที่ชนบทช่วง พ.ศ.2505 - 2553. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
ปรียานุช ทรงประกอบ. (2561). บทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศึกษาในช่วงเวลาปี 2535 - 2560. ใน ดุษฎีนิพนธ์การสื่อสารทางการเมือง วิทยาลัยการสื่อสารทางการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ. (2559). แกะดำโลกสวย. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ. (2565). ปัญญาอาทิตย์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุรพล สุยะพรหม และนันทนา นันทวโรภาส. (2562). การสื่อสารทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) : ศึกษาในช่วงเวลาพ.ศ.2540-2560. ใน ดุษฎีนิพนธ์การสื่อสารทางการเมือง วิทยาลัยการสื่อสารทางการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.
อัญญารัตน์ เอี่ยมเอิบ. (2553). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองไทยผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
McNair, B. (2016). An Introduction to Political Communication. London: Rutledge.
Almond, G. A. & Powell, G. B. (2019). Comparative Position Communication. Boston: Little Brown.
Warren W. W. (2020). The Mathematical Theory of Communication. linois: The University of linois press.