ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการฝึกร่ายรำมวยไทยที่มีต่อสุขภาวะ ของผู้สูงอายุ

Main Article Content

สมศักดิ์ ต๊ะสิทธิ์
วิระ ชัยบุตร
ประกอบ ศักดิ์ภูเขียว
อัมพวัน นาคเขียว
เจริญวุฒิ ศรีวงษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอดทนระบบหัวใจไหลเวียนเลือดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังงกายด้วยการฝึกร่ายรำมวยไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอดทนระบบหัวใจไหลเวียนเลือดของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และ         3) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอดทนระบบหัวใจไหลเวียนเลือดของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 - 70 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 30 คน โดยทำการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งผู้วิจัยได้ประเมินความพร้อมก่อนการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบประเมินความพร้อมก่อนออกกำลังกาย และทำการคัดกรอง โดยใช้แบบคัดกรองของสมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งอเมริกา จากนั้นทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน คือ กลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการฝึกร่ายรำมวยไทย ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Independent ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกร่ายรำมวยไทยสัปดาห์ที่ 8 ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ต๊ะสิทธิ์ ส., ชัยบุตร ว., ศักดิ์ภูเขียว ป., นาคเขียว อ., & ศรีวงษา เ. (2024). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการฝึกร่ายรำมวยไทยที่มีต่อสุขภาวะ ของผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 118–126. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/270858
บท
บทความวิจัย

References

ก.รวีวุฒิ ระงับเหตุ และคณะ. (2565). ผลของการออกกําลังกายด้วยการรํากระบองแบบทุ่งมอกที่มีต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทอผ้าไทลื้อ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 1-12.

กรมพลศึกษา. (2556). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุอายุ 60 - 89 ปี. เรียกใช้เมื่อ 17 ธันวาคม 2560 จาก http://ft.dpe.go.th/app/public/download/Test_60-89.pdf

เจริญ กระบวนรัตน์. (2562). เอกสารประกอบการอบรม Intensive Senior Fitness Trainer Certificati

onCourse “การเสริมสร้างความแข็งแรงผู้สูงอายุ”. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภสร นีละไพจิตร และคณะ. (2566). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยนาฏศิลป์พื้นบ้านไทยเพื่อพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 49(1), 99-109.

ลดาวัลย์ ชุติมากุล. (2560). ผลของรูปแบบการออกกําลังกายด้วยท่าฝึกโขนเบื้องต้นที่มีต่อสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม การทรงตัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2566). มิติด้านสุขภาพของสังคมสูงวัยในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 31 มกราคม 2567 จาก https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id

American College of Sports Medicine. (2014). ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Wlliams & Wilkins.

Bandy, W. D. & Sanders, B. (2013). Therapeutic Exercise for Physical Therapist Assistants. (3rd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.

Carneiro, N. H., et al. (2015). Effects of different resistance training frequencies on flexibility in older women. Clinical interventions in aging, 531-538. Doi: org/10.2147/CIA.S77433.

Carty, C. P., et al. (2012). Lower limb muscle moments and power during recovery from forward loss of balance in male and female single and multiple steppers. Clin Biomech (Bristol, Avon), 27(10), 1031-1037.

Costa, T. C., et al. (2013). Strength and stretching training and detraining on flexibility of olderadults.Top Geriatr Rehabil, 29(2), 142-148.

Hernandez, M. E., et al. (2010). Decreased muscle strength relates to self-reported stooping, crouching, or kneeling difficulty in older adults. Phys Ther, 90(1), 67-74.

Shumway-Cook, A. & Woollacott, M. (2012). Motor Control: Translating Research Intoclinical Practice. (4th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.

Williamson, P. (2011). Exercise for Special Populations. Philadelphia: Wolters KluwerHealth/Lippincott Williams & Wilkins.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row PubLications.