รูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างเครือข่ายทางสังคมและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 2) สร้างรูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้ปลูกสับปะรดในตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี และตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 292 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ พัฒนาการจังหวัด เกษตรอำเภอ ประธานกรรมการ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดในตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี และตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างเครือข่ายทางสังคมและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และ 2) รูปแบบเครือข่ายทางสังคมและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ “SES Model” ประกอบด้วย เครือข่ายทางสังคม (S = Social networks) เศรษฐศาสตร์ (E = Economic) และความเข้มแข็ง (S = Strength) ซึ่งรูปแบบได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบดังกล่าว มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). หมวดความหมายเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://www.sceb.doae.go.th/Ask&Answer (Update100449)/T5.pdf
คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. (2558). คู่มือประชารัฐรักสามัคคี. กรุงเทพมหานคร: คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ.
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2563). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
ชัญญาภัค หล้าแหล่ง และคณะ. (2561). การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 3447-3464.
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
โชติรส สมพงษ์. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ณัชชา ณัฐโชติภคิน และคณะ. (2561). กระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปะศาสตร์ ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(1), 31-40.
นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และนภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย. (2559). การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านโจรก. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 13(46), 101-111.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ใน การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2564). ข้อมูลเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
อภิษฎาข์ ศรีเครือดง และคณะ. (2558). การพัฒนาเครือข่ายการบริหารงานของเทศบาลนนทบุรี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice - Hall.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (Five edition). New York: Harper Collins.
Taro, Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (Third edition). New York: Harper and Row Publication.