การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูผู้สอน ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

ชฎาพร เธียรศิริพิพัฒน์
ตระกูล จิตวัฒนากร
วิโรชน์ หมื่นเทพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัลและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูผู้สอน 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูผู้สอนโรงเรียน 3) เพื่อทดลองและประเมินผลการใช้สมรรถนะดิจิทัลของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา และเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 11 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 331 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการทดสอบค่าที      ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะดิจิทัลของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ประกอบด้วย สมรรถนะการใช้งานคอมพิวเตอร์ และ สมรรถนะการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ส่วนสมรรถนะดิจิทัลที่เป็นความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนา ได้แก่ สมรรถนะด้านการรู้และเข้าใจในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) สมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อและสามารถจัดการรูปแบบการพิสูจน์ตัวตนบนโลกออนไลน์ และ สมรรถนะด้านความรู้ความเช้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) 2) วิธีการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลใช้การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบบูรณาการ ซึ่งผลการประเมิน พบว่า มีความเหมาะสม เป็นไปได้ เป็นประโยชน์และถูกต้องในระดับมากที่สุด และ         3) ผลการทดลองและประเมินผลการใช้สมรรถนะดิจิทัลตามความต้องการจำเป็นของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี พบว่า ครูผู้สอนฯ มีสมรรถนะดิจิทัลอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
เธียรศิริพิพัฒน์ ช., จิตวัฒนากร ต., & หมื่นเทพ ว. (2024). การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูผู้สอน ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(3), 140–149. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/271754
บท
บทความวิจัย

References

นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2563). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์ และคณะ. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1804-1814.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2464. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 74 ง หน้า 89-109 (27 ธันวาคม 2564).

พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 30 ก หน้า 39 (24 มกราคม 2560).

พิชญ์ สินีมะโน. (2562). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยุค DIGITAL DISRUPTION ต่อการศึกษา THE IMPACT OF DIGITAL DISRUPTION TO THE EDUCATION. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(1), 1-6.

ภควรรณ อยู่เย็น. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัลของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. ใน สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัทราพร เยาวรัตน์. (2565). การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์. (2563). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2563). แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุกิจ อัครมหาเสนาวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อมรรัตน์ ดอนพิลา. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Burns, N. & Grove, S.K. (2005). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique and Utilization. 5thEdition. Missouri: Elsevier Saunders.