การพัฒนาแผ่นพับออนไลน์สามภาษาเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวไร่เกษมสุข อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

รัตนีกรณ์ นาคปลัด
กัลยกร เสริมสุข
วริฏฐา เทพนิมิต
นุชนาฏ บัวจันทร์
ภานรินทร์ ใสหนู
เสวณีย์ ศรีพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผ่นพับออนไลน์สามภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนสำหรับประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ณ ไร่เกษมสุข อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแผ่นพับออนไลน์สามภาษาที่จัดทำขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 107 คน ประกอบด้วย เจ้าของกิจการไร่เกษมสุข 1 คน พนักงานไร่เกษมสุข จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวไร่เกษมสุข จำนวน 100 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) แบบประเมินความพึงพอใจของเจ้าของกิจการ พนักงานไร่เกษมสุข และนักท่องเที่ยวที่มีต่อแผ่นพับออนไลน์สามภาษา และ 2) การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อสอบถามความคิดเห็นของเจ้าของกิจการ พนักงานไร่เกษมสุข และนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับแผ่นพับออนไลน์สามภาษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงปริมาณคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้วิจัยได้พัฒนาแผ่นพับออนไลน์สามภาษาตามความต้องการของเจ้าของกิจการและพนักงานไร่เกษมสุข จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แผ่นพับเกี่ยวกับประวัติและกิจกรรมของไร่เกษมสุข และแผ่นพับเกี่ยวกับเมนูอาหารและเครื่องดื่มที่ไร่เกษมสุขจัดจำหน่าย ในด้านความพึงพอใจ พบว่าในภาพรวมเจ้าของกิจการ พนักงานไร่เกษมสุขและนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อแผ่นพับออนไลน์สามภาษาอยู่ในระดับมากที่สุด ผลจากการสัมภาษณ์ ทำให้สรุปได้ว่า แผ่นพับออนไลน์สามภาษาสามารถให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวไร่เกษมสุข อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Article Details

How to Cite
นาคปลัด ร., เสริมสุข ก. ., เทพนิมิต ว., บัวจันทร์ น., ใสหนู ภ., & ศรีพันธ์ เ. (2024). การพัฒนาแผ่นพับออนไลน์สามภาษาเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวไร่เกษมสุข อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(5), 1–12. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/273369
บท
บทความวิจัย

References

กันตภณ แก้วสง่า และคณะ. (2563). การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 14-28.

กิตติกร อ่อนจันทร์. (27 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลทั่วไปและความเป็นมาของไร่เกษมสุข. (นุชนาฏ บัวจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)

ครูเชียงราย. (2561). การออกแบบแผ่นพับ หรือ Brochure ที่ดี. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2566 จาก https://www.kruchiangrai.net/2018/10/10/การออกแบบแผ่นพับ-หรือ-brochure-ท/

ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีเสมือนจริงส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนคูบัว จังหวัดราชบุรี. ใน รายงานสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธัชนนท์ เจษฎานุรักษ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคิวอาร์เพย์เมนต์ของผู้ใช้บริการกรุงไทย เน็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.

บุษยา หมีเงิน และกุลกนิษฐ์ ทองเงา. (2566). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบแผ่นพับและโปสเตอร์ผสมผสานร่วมกับ QR Code และสื่อวีดิทัศน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร้อยเกสร, 8(2), 251-263.

ปทุมพร แป้นเหลือ. (2545). กลวิธีการจูงใจในสื่อแผ่นพับของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ปัทมา สารสุข และสาวิตรี คุ้มทะยาย. (2564). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยววิถีถิ่น ริมคลอง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(4), 57-69.

วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2565). การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในยุคการหลอมรวมสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, 7(2), 121-131.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด นครศรีธรรมราช ประจำเดือนกันยายน. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.opsmoac.go.th/nakhonsithammarat-home

สุกันยา คงเขียว และคณะ. (2561). ความต้องการสื่อในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(1), 12-20.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). เรียกใช้เมื่อ 4 ตุลาคม 2566 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

อโณทัย เชี่ยวชาญ. (2554). แผ่นพับคือ. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2566 จาก https://anothai573.blogspot.com/2011/06/blog-post_20.html

อภิสรา กฤตาวาณิชย์. (2564). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชาของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(2), 140-152.

HOMESICKALIENN. (2566). 20 ร้านอาหารนครศรีธรรมราช มาแล้วไม่พลาดต้องฟาดให้เรียบ อัปเดต 2023! เรียกใช้เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.wongnai.com/listings/restaurants-nakhon-si-thammarat

Thai PBS. (2565). อาชีพทั่วไทย : ไร่เกษมสุขท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.นครศรีธรรมราช. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/clip/164078

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.