คุณค่าของนางโขนผู้ชายในนาฏกรรมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการพิจารณาคัดเลือกนักแสดงนางโขนผู้ชายและการพัฒนาบทบาทนักแสดงนางโขนผู้ชาย และ 2) เพื่อศึกษาคุณค่าของนางโขนผู้ชายในนาฏกรรมไทย ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามประเด็นที่ทำการศึกษา ได้แก่ นาฏศิลปินชายที่ได้รับบทบาทนางโขน ผู้จัดการแสดงโขนและผู้ถ่ายทอดการแสดง ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาใช้วิธีการความเที่ยงตรงของข้อมูล ใช้ 2 วิธี คือ เทคนิคสามเส้าแบบวิธีการที่แตกต่างและการใช้เทคนิคสามเส้าของ ผู้ให้ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพิจารณาคัดเลือกนักแสดงนางโขนผู้ชาย ผู้คัดเลือกพิจารณา จากความสูงและสัดส่วนของนักแสดงให้สอดคล้องกับบทบาทของตัวละครที่ได้รับและต้องได้รับความสมัครใจจากนักแสดงด้วยและการพัฒนาบทบาทนักแสดงนางโขนผู้ชายเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องมาจาก การพิจารณาคัดเลือกนักแสดงนางโขนผู้ชายและพัฒนาบทบาทนางโขนผู้ชาย โดยการถ่ายทอดท่ารำจากผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละบทบาทของตัวละครและ 2) คุณค่าของนางโขนผู้ชายในนาฏกรรมไทย ประกอบด้วย คุณค่าในตัวงานศิลปะของนางโขนผู้ชายในนาฏกรรมไทย คือ สามารถเสริมสร้างคุณค่าเชิงศิลปะและสุนทรียรสที่ผู้หญิงไม่อาจเสมอเหมือนและคุณค่านอกตัวงานศิลปะของนางโขนผู้ชายในนาฏกรรมไทย ได้แก่ อรรถประโยชน์ส่วนตัวบุคคล คือ ข้อได้เปรียบทางโอกาสในการแสดงได้มากกว่า 2 บทบาทและอรรถประโยชน์แก่สาธารณะ คือ เป็นเครื่องแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2552). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมศิลปากร.
กรินทร์ กรินทสุทธิ์. (2560). โขนสด: การประยุกต์ดัดแปลงจากโขน สู่การแสดงระดับชาวบ้าน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: 12(1), 201-228.
จิรัชญา บุรวัฒน์. (2561). การฝึกหัดและการถ่ายทอดกระบวนรำกราวนางยักษ์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(1), 93-101.
ชลาลัย วงศ์อารีย์. (2563). ประวัติศาสตร์ตัวนางผู้ชายในการแสดงนาฏยศิลป์ไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 55-68.
ชุติมา มณีวัฒนา. (2561). ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ Renaissance. เรียกใช้เมื่อ 16 ตุลาคม 2563 จาก https://elfar.ssru.ac.th/chutima_ma/?.
ญาดา จุลเสวก. (2560). การดำรงอยู่ของนาฏศิลป์ไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1), 48-61.
ทัศนา ทัศนมิตร. (2554). จากงิ้ววังหน้า ถึงโขน ละครไทย. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2511). Khon. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
ธนินท์รัฐ กฤษฎิ์ฉันทัชท์ และศิริวิศาลสุวรรณ. (2559). โขนวิจิตรนาฏศิลป์ชั้นสูง: กรณีศึกษาการถ่ายทอดการสอนโขนจากรุ่นสู่รุ่นของนักเรียนโขนโรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 17(2), 104-112.
ธัณธีร์ตา กิจอนันต์. (2555). กลยุทธ์การบริหารจัดการนักแสดงในสังกัด กรณีศึกษา: สถานีโทรทัศน์สีกองทับบกช่อง 7. JC Journal, 4(3), 299-316.
ธันวา ว่องนราธิวัฒน์. (2562). กระบวนการคัดเลือก พัฒนาบทบาทนักแสดง และการเพิ่มมูลค่าให้กับนักแสดงซีรีส์วาย. ใน สารนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2557). “วิพากษ์ความเป็นหญิงของหญิงในร่างชาย”. เรียกใช้เมื่อ 16 ตุลาคม 2563 จาก http://www.sac.or.th/main/content_detail.php?.
พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2560). บทบาทนางโขน: สีสันแห่งการแสดงโขน. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 15(2), 33-40.
พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ และผุสดี หลิมสกุล. (2560). ประวัติศาสตร์นางโขน. วารสารดนตรีรังสิตมหาวิทยาลัยรังสิต, 12(1), 49-67.
ยศ สันตสมบัติ. (2548). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลศรี อุปรมัย. (2553). นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริลักษณ์ บัตรประโคน. (2558). วัยใสหัวใจโขน: การสืบทอดและกลวิธีการสืบทอดศิลปะโขนของไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 4(1), 89-126.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจูน พับลิชชิ่ง จำกัด.
อมรา กล่ำเจริญ. (2561). โขน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1), 215-228.
อัมรา บุญประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมต่างประเทศกับการดำรงอยู่ของนาฏศิลป์ไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 35-44.
Denzin, N. (1978). Sociological Methods: A Sourcebook. New York: McGraw Hill.
Nastasi, K. & Schensul, L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.