ปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการเป็นผู้นำทางการศึกษาของครู

Main Article Content

จีระยุทธ พุทธรักษาพิทักษ์
วิทูล ทาชา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ที่คาดหวังและที่ไม่คาดหวังจากปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการเป็นผู้นำทางการศึกษาของครู 2) การเรียนรู้จากปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการเป็นผู้นำทางการศึกษาของครูในตัวผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัยและสถานศึกษา 3) องค์ความรู้ที่ได้รับจากปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการเป็นผู้นำทางการศึกษาของครู ในลักษณะเป็นทฤษฎีฐานรากในบริบทเฉพาะของโรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลคือรองผู้อำนวยการและครูผู้สอน 52 คน ใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์กลุ่ม แบบประเมินผลการบรรลุความคาดหวัง ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปฏิบัติการ 3 ระยะคือ ก่อนและหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 1 และหลังการปฏิบัติในวงจรที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังคือ ผู้ร่วมวิจัยได้นำเอา “หลักการ/แนวคิด/เทคนิค/วิธีการ/กิจกรรม” ไปสู่การปฏิบัติที่มากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 2.12, 3.08 และ 4.17 และผลการประเมินลักษณะ 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมสูงขึ้น จาก 2.86 เป็น 3.50 และ 4.54 ส่งผลให้ผู้ร่วมวิจัยมีลักษณะที่แสดงถึงความสามารถการเป็นผู้นำทางการศึกษาของครูมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีมากขึ้น การวิจัยเป็นการพัฒนาครู พัฒนางาน พัฒนาองค์กรเพื่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ครูเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เกิดองค์ความรู้ คือ “โมเดลต้นแบบจากปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการเป็นผู้นำทางการศึกษาของครู ในโรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร”

Article Details

How to Cite
พุทธรักษาพิทักษ์ จ., & ทาชา ว. (2024). ปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการเป็นผู้นำทางการศึกษาของครู. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(5), 267–278. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/273714
บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์ และคณะ. (2557). การพัฒนาตัวบงชี้ภาวะผู้นําของครูโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(20), 1-12.

ทวีศักดิ์ ยศถา และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเรียนการสอน ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 67-86.

พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล. (2562). เมื่อโลกถูก Disrupt สถานศึกษาต้องมองไปข้างหน้า. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2021 จาก https://www.shorturl.asia/

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (E - book). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุทธิ์.

สร้อยสุดา กรีน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา ตำแหน่งครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

James, E. A. et al. (2008). Participatory action research for educational leadership: Using data-driven decision making to improve schools. In Thousand Oaks. Sage.

Mills, G. E. (2007). Action research: A guide for the teacher researcher. (3nd ed). New Jersey: Merrill Prentice Hall.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 1(2), 49-60.