รูปแบบการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมบนฐานแนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในข้อมูลสำคัญสำหรับรูปแบบการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมบนฐานแนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 2) พัฒนาพิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัล และ 3) ศึกษาผลการใช้พิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัล กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านพิพิธภัณฑ์ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำและปราชญ์ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน และตัวแทนผู้ใช้สื่อ จำนวน 17 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และ 2) ผู้ใช้สื่อที่เป็นชาวชุมชนต้นแบบสุขภาพ จำนวน 100 คน โดยสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเกต 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบสนทนากลุ่ม 4) แบบสัมภาษณ์ผู้ใช้สื่อ และ 5) แบบประเมินผลการใช้พิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมในข้อมูลสำคัญสำหรับรูปแบบการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัล มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1) คิดและตัดสินใจ 1.2) วางแผน 1.3) ดำเนินงาน 1.4) ติดตามและประเมินผล และ 1.5) รับประโยชน์ 2) พิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัลที่พัฒนา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) ประเภทพิพิธภัณฑ์ 2.2) ช่องทางนำเสนอ 2.3) เนื้อหาที่นำเสนอ 2.4) สื่อประสมที่ใช้ และ 2.5) บริการเพิ่มเติม 3) ขั้นตอนการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัล มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 3.1) วางแผน 3.2) เตรียมพัฒนา 3.3) พัฒนาสื่อ 3.4) หลังพัฒนา และ 3.5) นำเสนอและประเมิน โดยผลการประเมินคุณภาพพิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการใช้พิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัล มี 2 ด้าน ได้แก่ 4.1) การรับรู้ของผู้ใช้พิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัลอยู่ในระดับมาก และ 4.2) ความพึงพอใจของผู้ใช้พิพิธภัณฑ์สื่อสุขภาพดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2561). การสุ่มตัวอย่างและการผสานข้อมูลตามแบบแผนการวิจัยแบบผสมวิธี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 147-158.
กาญจนา บุศราทิจ และคณะ. (2563). เทคโนโลยีความจริงเสริม: การประยุกต์ใช้ทางการศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(1), 104-111.
กุณฑิกา ชาพิมล และดีอนา คาซา. (2565). พลวัตของพิพิธภัณฑ์ไทย: ความหมายใหม่ในสถานที่เดิม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(3), 355-370.
คมสัณห์ ฐานะโชติพันธุ์ และคณะ. (2565). การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพไทยในวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 111-130.
ณหทัยวรรณ วิโสภา และคณะ. (2564). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพัสดุ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร, 6(2), 63-74.
ณัฐหทัย นิรัติศัย และณัฐชยา กำแพงแก้ว. (2564). ระบบสาธารณสุขไทย: ความท้าทายในสถานการณ์วิกฤติ. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 174-188.
ทนากร ศรีก๊อ และคณะ. (2566). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(6), 2767-2479.
นันทมนต์ กู้ตลาด. (2565). พิพิธภัณฑ์ไทยกับการประยุกต์ใช้เกมิฟิเคชัน: ทบทวนการใช้กระบวนการเกมในบริบทพิพิธภัณฑ์เพื่อการออกแบบเกม. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(2), 32-43.
นิคม ชัยขุนพล. (2560). ลักษณะปฏิสัมพันธ์การสื่อสารจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ของคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 55-65.
บุญศรี พรหมมาพันธ์ และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2563). การประเมินคุณภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยกระดับสู่มาตรฐานสากล. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(1), 28-38.
ปัทมพร ทัศนา. (2564). พิพิธภัณฑ์ไทยในวิกฤตโควิด-19 สู่การเป็นดิจิทัลมิวเซียม. เรียกใช้เมื่อ 19 กันยายน 2565 จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript-rr2564-sep2
พัฒนา พรหมณี และคณะ. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 59-66.
เพ็ญนภา โชติธรรมโม. (2563). การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 308-318.
ภวิษย์กันฐพร มงคลชาติ และคณะ. (2564). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืนจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ., 11(1), 63-76.
มยุรินทร์ มากคง และคณะ. (2563). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสี่วาพาสวัสดิ์ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 79-98.
ราตรี ทองคำ. (2565). ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดลพบุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 30(3), 86-99.
ศศิประภา บุดดี และคณะ. (2566). องค์ประกอบในการเดินทางท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(1), 74-89.
อัญญปารย์ ศิลปะนิลมาลย์. (2565). ผลการเรียนรู้ระยะไกลภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการประชุมออนไลน์ในรายวิชาทักษะรู้ดิจิทัล คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 12(1), 50-61.
Dragana, P. (2021). Digital tools in museum learning: A literature review from 2000 to 2020. Journal of Teaching, Learning and Teacher Education, 5(2), 167-178.
Karlie, S. M. et al. (2019). Proactive, reactive, and inactive pathways for scientists in a changing world. Journal of Earth's Future, 7(1), 60-73.
Prakash, S. A. & Karki, T. (2022). Participatory communication for development and social change. Journal of Socio Economy and Policy Studies, 2(2), 57-60.