การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านขวาวโค้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการรูปแบบ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูโรงเรียนบ้านขวาวโค้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 เป็นการศึกษาวิธีวิจัยเชิงพัฒนา ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการรูปแบบ โดยสอบถามครูโรงเรียนบ้านขวาวโค้ง จำนวน 7 คน 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบ โดยครูโรงเรียนบ้านขวาวโค้ง จำนวน 7 คน และ 4) ประเมินรูปแบบ โดยครูโรงเรียนบ้านขวาวโค้ง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ระดับปานกลาง ( = 3.21, S.D. = 0.20 ) และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ระดับมากที่สุด (
= 4.13, S.D. = 0.09) 2) ผลการสร้างรูปแบบ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ การวัดและประเมินผลและเงื่อนไขความสำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบ ระดับมากที่สุด (
= 4.71, S.D. = 0.17) มีความสอดคล้อง ผลการประเมินคู่มือ มีความเหมาะสม ระดับมากที่สุด (
= 4.67, S.D. = 0.20) มีความสอดคล้อง 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผลการประเมินด้านแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านกระบวนการ และด้านการประเมินผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียน ระดับมากที่สุด (
= 4.75, S.D. = 0.10) และ 4) ผลการประเมินรูปแบบ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.61, S.D. = 0.11)
Article Details
References
กิ่งแก้ว ภูทองเงิน. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ระดับประถมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา”. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(1), 34-41.
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์. (2562). ผลวิจัยไมโครซอฟท์-ไอดีซี ย้ำ ความคิดสร้างสรรค์คือทักษะสำคัญ ในโลกอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI. เรียกใช้เมื่อ 4 เมษายน 2562 จาก https://news.microsoft.com/th-th/2019/04/04/idc_skillsai_th/.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู: กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: เอ็ม แอนด์ เอ็น ดีไซด์.
พิชิต ขำดี. (2561). ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง. (2563). ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. สุรินทร์: โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง.
วัชรี เกษพิชัยณรงค์ และคณะ. (2555). การเรียนเชิงรุกและเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนเชิงรุก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2558). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุทธิ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2559). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พริก หวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อารี พันธ์มณี. (2547). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ใยไหม.
อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อุบล หนูฤกษ์. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐานโรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Marlowe, B. A. & Page, M. L. (2005). Creating and Sustaining the Constructivist Classroom. (2nd ed.). California: Corwin Press.