การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารของธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารจำแนกตามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดตรังเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 384 กิจการ และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจส่วนใหญ่มีที่ตั้งของสถานประกอบการอยู่ในอำเภอกันตัง รูปแบบธุรกิจเจ้าของคนเดียว เป็นธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีระยะเวลาดำเนินงานส่วนใหญ่น้อยกว่า 5 ปี มีจำนวนพนักงานส่วนใหญ่น้อยกว่า 10 คน และรายได้ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี เมื่อวิเคราะห์การใช้ข้อมูลทางการบัญชี พบว่า การใช้ข้อมูลทางการบัญชีด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการควบคุม ด้านการสั่งการ และด้านการตัดสินใจ ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารของธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการ พบว่า รูปแบบธุรกิจ และประเภทของธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยของการใช้ข้อมูลทางการบัญชีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับที่ตั้งของสถานประกอบการ ระยะเวลาดำเนินงาน จำนวนพนักงาน และขนาดรายได้ของสถานประกอบการมีค่าเฉลี่ยของการใช้ข้อมูลทางการบัญชีไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดตรัง. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดตรัง พ.ศ. 2566-2570. ตรัง: สำนักงานจังหวัดตรัง.
กิตติศักดิ์ แสงทอง. (2563). วิจัยการจัดการ จากภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. สงขลา: พี.ซี. พริ้นติ้ง.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วีอินเตอร์พริ้นทร์.
นิรชา จันทร์เรือน และคณะ. (2561). ความสามารถในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน วิสาหกิจชุมชน ในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(1), 81-92.
นิศศา ศิลปเสรฐ. (2560). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญจวรรณ อ่อนหวาน. (2562). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พีเอ็มพีเสิร์ฟ. (2566). ธุรกิจมีกี่รูปแบบ รูปแบบธุรกิจไหนที่เหมาะสมกับคุณ. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://www.pmpservethailand.com/
เพ็ญนภา หวังที่ชอบ และสุภลัคน์ จงรักษ์. (2564). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านกูบ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 122-130.
ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2564). ข้อมูลทางการบัญชีกับการบริหารธุรกิจ. สรรพากรสาส์น, 68(7), 85-90.
อรสา มั่งสกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ข้อมูลทางบัญชีบริหารและประสิทธิภาพการดําเนินงานกรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อริสรา เสยานนท์. (2560). การประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Collier, P. M. (2015). Accounting for managers: Interpreting accounting information for decision making. Hoboken: John Wiley & Sons.