การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ 2) ตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้าง และ 3) สร้างรูปแบบ แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู บุคลากร จำนวน 502 คน จากวิธีคำนวณของ คอมเลย์,เอลี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินการใช้องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันตามหลัก PDSA-CRE Model ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบมี 3 องค์ประกอบ คือ (1) การบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม มี 6 ตัวบ่งชี้อันดับสอง 37 ตัวบ่งชี้อันดับหนึ่ง (2) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโดยครู มี 4 ตัวบ่งชี้อันดับสอง 23 ตัวบ่งชี้อันดับหนึ่ง (3) พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มี 5 ตัวบ่งชี้อันดับสอง 26 ตัวบ่งชี้อันดับหนึ่ง 2) การตรวจสอบโมเดล พบว่า การบริหารมีอิทธิพลทางตรงต่อการส่งเสริมและส่งผลต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ส่วนการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโดยผ่านการส่งเสริมจากครูผู้สอน 3) การพัฒนารูปแบบหรือนวัตกรรม ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ ในการบริหารสถานศึกษาและ 4 ตัวบ่งชี้ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยตัวบ่งชี้ที่สนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ ได้แก่ PDSA-CRE ส่วนแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ การสร้างความตระหนัก, การชักนำคุณธรรมจริยธรรมและการเพียรติดตามความดีก้าวสู่เวทีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งมีความเป็นไปได้และก่อให้เกิดประโยชน์ ด้วยรูปแบบโมเดล 6 บริหาร 4 การส่งเสริม PDSA-CRE และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารการศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนต่อไป
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2559). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา (Professional Education Administration: Basic Qualifications, Skills, and Vision). วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 247-254.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
พงศ์จักร ยามสุข. (2567). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดไม่ทิ้งเด็กคนใดไว้ข้างหลังของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.มนตรี พิริยะกุล. (กรุงเทพมหานคร). ตัวแปรคั่นกลางและทดสอบอิทธิพลทางอ้อม. 2564: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (2567). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ 5 ปี 2566-2570 ส.พ.ป รอ.เขต 3. ร้อยเอ็ด: จันเกษมการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม-แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. (2554). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed.). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum.
Hair, J. F. & Black, W. C. (2005). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Person Prentice Hall.
Kline, R. B. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: The Guilford Press.
Polit, D. F. & Beck, J. H. (2014). Essentials of Nursing Research Appraising Evidence for Nursing Practice. United States: Philadelphia Walters Kluwer.