การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาหน้าที่พลเมืองที่เรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน และ 2) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ จำนวน 8 หน่วย และแบบวัดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่เรียนในวิชาหน้าที่พลเมืองด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐาน มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลของแผนการจัดการเรียนรู้ในวิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ โดยใช้คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ พบว่า ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการคิดเชิงวิพากษ์โดยรวมสูงขึ้น มีพัฒนาการของทักษะการคิดเชิงวิพากษ์เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยการเรียนรู้ก่อนหน้า โดยมีข้อเสนอแนะ คือ การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเน้นให้เกิดการคิดจากผู้เรียนเป็นกระบวนการที่ช่วยพัฒนาทักษะของการคิดเชิงวิพากษ์ของผู้เรียนได้ดี และสามารถเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้สอนในบริบทที่เป็นความสนใจ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตตามช่วงวัยของผู้เรียน
Article Details
References
กมลชนก สกนธวัฒน์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพมหานคร: ครุสภา.
ณัฏฐพงศ์ ลำภูทอง. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 283-295.
ปิยะบุตร ถิ่นถา. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐาน วิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลป. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 24(1), 95-109.
ปุญญากรณ์ วีระพงษานันท์. (2560). การพัฒนาแบบวัดลักษณะนิสัยการคิดอย่างมีวิตจารณาญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร: ครุสภา.
สุภชัย ปิ่นมณี. (2566). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐานที่ส่งผลต่อทักษะการสร้างแผนที่และทักษะการคิดเชิงพื้นที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Thai Civic Education. (2556). กรอบแนวคิดหลักสูตรเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย. กรุงเทพมหานคร: เทคนิค อิมเมจ.
Tsai, M. H. (2020). Exploring the effects of a serious game-based learning package for disaster prevention education: The case of Battle of Flooding Protection. International Journal of Disaster Risk Reduction, 43(5), 89-104.
UNESCO. (2015). Global Citizenship Education: Topics and Learning Objectives. Paris: the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organizatio.
United Nations. (2015). Sustainable Development Goals. Switzerland: United Nations.
Westheimer, J. (2016). Teaching Children to Think. Retrieved มกราคม 1, 2567, from https://www.nais.org/magazine/independent-school/winter-2016/teaching-children-to-think