การสังเคราะห์งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสังเคราะห์งานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจจำนวนและสังเคราะห์ประเภทของงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ของคณาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงระยะเวลา พ.ศ. 2556 - 2564 นำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และหาประเด็นที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินการวิจัย รวมทั้งเห็นภาพรวมของงานวิจัยที่ขาดหายไป โดยเก็บข้อมูลจาก กองบริหารการวิจัย และสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหลัก โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมจากบางหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 20 หน่วยงาน จากการสังเคราะห์ข้อมูลพบว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผลงานวิจัย 1,660 ผลงานต่อเนื่องโดยเฉลี่ยปีละ 180 - 220 เรื่อง คณะที่มีผลงานวิจัยมากที่สุดคือพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ร้อยละ 32.17 รองลงมาเป็นคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน ร้อยละ 9.34 คณะเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 8.91 คณะรัฐศาสตร์ ร้อยละ 8.80 ตามลำดับ ด้านสาขาการวิจัยพบว่าสาขาเศรษฐศาสตร์มีมากที่สุด ร้อยละ 41.08 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ร้อยละ 16.45 และสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ร้อยละ 8.80 ทั้งนี้ผลงานส่วนใหญ่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ในยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยประเด็นทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน ในขณะเดียวกันยังมีผลงานที่สอดคล้องในยุทธศาสตร์ชาติด้านสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ แต่ในบางประเด็นยังมีจำนวนน้อย เช่น ด้านสังคมวิทยา ที่มีร้อยละ 1.39 ด้านศิลปศาสตร์ ร้อยละ 1.14 รวมไปถึงด้านด้านจิตวิทยา ศึกษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ทางสังคมและเศรษฐกิจ และมนุษยศาสตร์อื่น ๆ ที่มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 เท่านั้น
Article Details
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน Meta - Analysis. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 66 ก (17 กรกฎาคม 2558).
รัชพล แย้มกลีบ. (2565). ทศวรรษไทยคดี: สถานภาพทางวิชาการและองค์ความรู้. วารสารไทยคดีศึกษา, 19(2), 287-337.
วิสุทธิ์ เวชวราภรณ์. (2567). คุณค่าของความรู้ที่หายไปในระบบวิจัยด้านสังคมศาสตร์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). เรียกใช้เมื่อ 16 มีนาคม 2567 จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/559
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2560). คู่มือการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการ ด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2561). คู่มือการตรวจสอบและประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามมติคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นโยบายการยกระดับคุณภาพและสมรรถภาพของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ด้วยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 16 มีนาคม 2565 จาก https://www.nxpo.or.th/B/social-and-humanity-frontier-research/
เสาวธาร โพธิ์กลัด. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการบริหารงานยุติธรรม. ใน รายงานสืบเนื่องการสัมมนาวิชาการ (Proceedings) ระดับบัณฑิตศึกษาฯ ครั้งที่ 7. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทัย ดุลยเกษม. (2561). อนาคตของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(1), 1-18.
Chalmers, L., et al. (2002). A brief history of research synthesis. Eval Health Prof, 25(1), 12-37.
Frascati Manual. (2002). Proposed Standard Practice for Surveys on Research and Experimental Development. Paris: OECD Publications Service.